top of page
ความเปลี่ยนแปลงพลเมือง.jpg

Week 02:
Global Citizen

สัปดาห์ที่ 02

หัวข้อเรื่อง:       

ความเป็นพลเมืองโลก: การเชื่อมโยงแนวคิดด้านการตระหนักรู้ของนักดนตรีสมัยใหม่ในงานดนตรีเพื่อประชาสังคม


Global Citizen: Reconciliation of the new generation musicians’ awareness in
Music for Society


รายละเอียด:     

การบรรยายด้านการเป็นพลเมืองสำคัญต่อนักดนตรีรุ่นใหม่ในการตระหนักรู้ถึงความเป็นพลเมืองโลก โดยจะเป็นแรงขับให้ผู้เรียนได้ออกแบบกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 ในลักษณะของการบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างสมดุลเพื่อเป็นประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทความต้องการของชุมชนในพื้นที่ที่ผู้เรียนศึกษา

Book3: Week 02: Welcome

พลเมืองโลก

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดให้มีรายวิชาพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม (TU100)
(ปริญญา, 2563) มหาวิทยาลัยมหิดลจัดให้มีรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์ (MUGE100) และวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (สุวัฒน์ , ม.ป.ป.) ในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมืองของโลก ในระดับปริญญาบัณฑิตเพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกที่ต่อจากทักษะวิชาชีพที่ผู้เรียนได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยผ่านการฝึกปฏิบัติอย่างมีเหตุและผลเพื่อให้เกิดการรับรู้และตระหนักถึงความเป็นพลเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในความเป็น “พลเมืองโลก”


สถาบันดนตรีกัลยาณิ​วัฒนา มีพันธกิจสำคัญประการหนึ่งการสร้างและพัฒนาบุคลากรทางด้านดนตรีที่มีศักยภาพสูง มีความคิสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีให้เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับบริบทของสังคม (สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, 2019) จากพันธกิจในข้อดังกล่าวทำให้หลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาจัดให้มีการเรียนการสอนรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 – 4  (หลักสูตรใหม่ 2562) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่นักศึกษาของสถาบันฯ ให้สามารถใช้วิชาชีพทางดนตรีสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาสังคมได้ ​ 

แนวคิดด้านการเป็นพลเมืองโลก

ฮิวจ์ อีแวนส์ (1983 – ปัจจุบัน) ผู้นำเยาวชนชาวออสเตรเลียกล่าวไว้ในการบรรยายในเท็ดทอร์ค(Ted Talk)  ในหัวข้อ “การเป็นพลเมืองโลกมีความหมายว่าอย่างไร” โดยการบรรยายได้กล่าวถึงว่าความเป็นพลเมืองโลกคือบุคคลที่สามารถบอกกับตัวเองได้ว่าไม่ได้อยู่ในฐานะพลเมืองของรัฐหรือชนชาติใดแต่เป็นมนุษย์ด้วยกัน (Evans, 2016) ดังรูปที่ 2 เพราะฉะนั้นมนุษย์เรากลับต้องมาเรียนรู้ต่อไปว่าบทบาทของเราในฐานะพลเมืองโลกควรเป็นแบบไหน ความเข้าใจใหม่ในความเป็นมนุษย์เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นความยากจน ความเท่าเทียม ปัญหาขยะ ฯ เป็นปัญหาใหญ่และอีแวนส์เชื่อว่าปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกแก้ไขด้วยพลเมืองโลกได้สำเร็จ

Book3: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.53.21.pn
Book3: Week 02: Image

เจสัน มราซ (Jason Mraz, 1977 - ) ศิลปินนักร้องชื่อดังให้สัมภาษณ์กับช่องโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (CNN) ของสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ไปปฏิบัติภารกิจในประเทศกานา (Ghana) ในภารกิจในฐานะนักสิทธิมนุษยชน (humanitarian) เมื่อปี ค.ศ. 2010 ในคำถามช่วงท้ายที่ว่า การทำงานที่กานาห้าวันนี้คุณอยากจะกลับมาอีกหรือไม่ และคุณวางแผนที่จะกลับไปทำงานในการสร้างความตระหนักรู้ให้กันคนอเมริกันบ้างหรือไม่ โดยมราซได้ตอบคำถามว่า เป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำงานกับเยาวชนในสหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างความตระหนักรู้และกำลังใจให้แก่พวกเขาเหล่านั้นในฐานะที่ผมเป็นพลเมืองโลกคนหนึ่ง เสมือนกับมนุษย์ทุกคนฟังเพลงเพลงเดียวกันและพร้อมที่จะแบ่งปันความคิด (Shcherbakova, 2010) ดังรูปที่ 3 แสดงให้เห็นว่าหน้าที่ของศิลปินไม่ใช้เพียงแต่สร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมเท่านั้นแต่ยังต้องสร้างความตระหนักรู้ให้กับคนอื่น ๆ ได้ด้วยโดยมราซได้ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดของความเป็นพลเมืองโลกได้อย่างชัดเจน

Book3: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.53.37.pn
Book3: Week 02: Image

ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 3

การค้นคว้าทดลองในทางศิลปะนั้นจะช่วยให้กระตุ้นให้นักวิชาการหรือนักวิจัยกล้าที่จะพูดถึงหลักฐานทางองค์ประกอบอาจไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์ทั้งหมดด้วยการเดินเข้าไปในพื้นที่ใหม่และพร้อมที่จะออกจากรอบความคิดเดิม รูปที่ 4  (Shoocongdej, 2020) ดนตรีเพื่อประชาสังคมเป็นวิชาปฏิบัติในการประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมในแง่มุมใดมุมหนึ่ง เพราะฉะนั้นผู้เรียนควรมีความตระหนักรู้ถึงความเป็นพลเมืองโลกโดยจะทำให้สามารถเข้าใจในมุมมองของการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดประโยชน์ในฐานะศิลปินนักดนตรีได้ไม่มากก็น้อยนั้นเป็นสิ่งสำคัญ  

Book3: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.53.57.pn
Book3: Week 02: Image

ดนตรีสะท้อนให้เห็นถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทำให้ดนตรีเพื่อประชาสังคมเป็นแนวทางในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จากการทำงานภาคสนามในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนที่จะสะท้อนผ่านกระบวนความคิดและการทำงานของผู้เรียน โดยผู้เขียนได้ประมวลความรู้ทางทฤษฎีและแนวคิดในการทำงานภาคสนามที่สอดคล้องกับกับรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 (ศุภพร, 2563) ได้ดังต่อไปนี้


ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานภาคสนามของเบลา บาร์ตอก

ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานภาคสนามของบิดาแห่งมานุษยวิทยาดนตรี เบลา บาร์ตอก (Béla Bartók, 1881 – 1945) เป็นการทำงานภาคสนามที่เก็บรวบรวมข้อมูลการบันทึกเสียงเป็นกระบวนวิธีการที่สำคัญในการเก็บรักษาคุณค่าของบทเพลงพื้นบ้านที่ประกอบกับนาฏกรรมและพิธีกรรมของวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง โดยนำผลงานการเก็บรวบรวมไปเรียบเรียงใหม่โดยยังคงนำเสนอแนวทำนอง (melody) จังหวะ (rhythm) และเนื้อหาทางดนตรีเดิมไว้ (musical texture) แต่ยังคงสาระสำคัญเดิมไว้ ดังรูปที่ 5

Book3: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.54.16.pn
Book3: Week 02: Image

บาร์ตอกแสดงให้เห็นกระบวนวิธีการทำงานภาคสนามนำไปสู่การเรียบเรียงบทประพันธ์ต่าง ๆ ที่ยังคงแสดงถึงความงาม ความสมบูรณ์ของดนตรีพื้นบ้านไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์  (Gillies, 2001) ดังรูปที่ 6

Book3: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.55.34.pn
Book3: Week 02: Image

ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานภาคสนามของเท็ด โซลิส

วาทกรรมของเท็ด โซลิด (Ted Solíd, ) นักมานุษยวิทยาดนตรีที่มุ้งเน้นความสำคัญในด้านการแสดงและการสร้างสรรค์งานจากผลลัพธ์ของการทำงานภาคสนาม กล่าวว่า “การสอนเป็นสิ่งที่สอนกันได้” ดังรูปที่ 7  (Solís, Teaching What Cannot be Taught: An opticmistic overview, 2004)

Book3: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.55.48.pn
Book3: Week 02: Image

จากที่โซลิสกล่าวไว้ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงกระบวนวิธีคิดในลักษณะของการทำงานภาคสนามที่ไม่ใช่เพียงแค่การจัดเก็บข้อมูลเท่านั้นแต่ยังสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากสนามในการทำงานสร้างสรรค์ต่อไปได้ อย่างไรก็ตามการทำงานตามแนวคิดของโซลิสยังคงมุ่งเน้นกระบวนการทำงานเป็นสำคัญ ดังรูปที่ 8

Book3: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.56.07.pn
Book3: Week 02: Image

ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานภาคสนามของเดวิด แฟนชอว์

เดวิด แฟนชอว์ (David Fanshaww, 1942 – 2010) นักประพันธ์ใช้กระบวนการสร้างสรรค์ผ่านการทำความเข้าใจในมุมมองทางมานุษยวิทยาการทำงานดนตรีข้ามวัฒนธรรมผ่านกระบวนวิธีแบบมานุษยวิทยาดนตรีด้วยการสำรวจ บันทึกสำเนียงดนตรีพื้นบ้านในแถบประเทศตะวันออกกลางถึงแอฟริกา ทำให้ผลการสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งในรูปแบบเพลงร้องหรือผสมผสานมัลติมีเดีย (multimedia) ดังรูปที่ 9

Book3: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.56.22.pn
Book3: Week 02: Image

ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานภาคสนามของศุภพร สุวรรณภักดี

การทำงานดนตรีข้ามวัฒนธรรม ในที่นี้หมายถึง การศึกษางานดนตรีอย่างมีขอบเขตผ่านการวิเคราะห์รูปแบบการศึกษาดนตรีและการเลือกใช้วัตถุดิบเพื่อการสร้างสรรค์การบรรเลงบนเครื่องดนตรีที่เป็นทักษะของผู้ศึกษาหรือกลุ่มผู้ศึกษา โดยมี 4 มิติในการทำงานดนตรีข้ามวัฒนธรรม ดังรูปที่ 10 ประกอบด้วย การเรียนรู้
การตีความ การบรรเลง และการส่งต่อ ใช้เทคนิคการประพันธ์ เรียบเรียงเสียงประสาน ให้ออกมาในงานดนตรีในรูปแบบต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่ศึกษาตามแต่กรณี (ศุภพร, ดุษฎีนิพนธ์งานประพันธ์เพลง: ลม-กระซิบ-พราย สำหรับวงเชมเบอร์อองซอมเบลอ, 2559)

Book3: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.56.38.pn
Book3: Week 02: Image

ความเชื่อมโยงระหว่างพลเมืองโลกและการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม

เมื่อดนตรีเป็นศาสตร์ที่คนสามารถสัมผัสได้เร็วและไว ด้วยองค์ประกอบของดนตรีทั้งทำนอง จังหวะและเสียงประสาน แล้วหากใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นประโยชน์แก่ประชาสังคมแล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถตระหนักรู้ถึงความเป็นคนในฐานะ “พลเมืองโลก” ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนและสังคมได้ ทำให้กิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 ควรออกแบบกิจกรรม การทำงานในพื้นที่ที่ผู้เรียนศึกษาควรมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจในแต่พื้นที่ โดยมีการวางวัตถุประสงค์ในการทำงานประชาสังคมที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความต้องการของบริบททางสังคมนั้น ๆ

บทสรุป

ผู้เรียนควรตระหนักรู้ว่าตนนั้นเป็นพลเมืองของโลกเพราะฉะนั้นการสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนในพื้นที่ที่ศึกษาจะทำให้เกิดจิตสำนึกและคุณค่าของชีวิตผ่านทักษะทางดนตรีที่เป็นทักษะสำคัญของผู้เรียน โดยใช้แนวคิดการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 โดยบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการดำเนินกิจกรรม

เอกสารอ้างอิง

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, ผศ. (2563). มธ.100 พลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา. สืบค้น 1 มีนาคม 2563. Gen Next Academy ธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา. https://gennext.tu.ac.th/courses/course-v1:Academic_Services_Division+TU100+2019_T2/about

ศุภพร สุวรรณภักดี. (2559). ดุษฎีนิพนธ์งานประพันธ์เพลง: ลม-กระซิบ-พราย สำหรับวงเชมเบอร์อองซอมเบลอ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภพร สุวรรณภักดี. (2563). บทเพลงจากพื้นที่สูงปางมะผ้า: การส่งต่อเรื่องราวผ่านกระบวนการทำงานดนตรีข้ามวัฒนธรรม. ใน รัศมี ชูทรงเดช (บ.ก.),  เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง โบราณคดีก่อนไท(ย) บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เรือนแก้ว

.

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา. (2019). วิสัยทัศน์ พันธิกิจและค่านิยมองค์กร. สืบค้น 1 ธันวาคม 2562. จาก http://www.pgvim.ac.th/th/about/Vision.php


สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ ศ.คลินิก. (ม.ป.ป.). มคอ. 3 รายละเอียดของรายวิชา มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2564 จาก  

https://op.mahidol.ac.th/ea/wp-content/uploads/2019/07/MUGE100.pdf

Gillies, M. (2001).


Béla Bartók 1903-8. In S. Sadie (Ed.), The New Grove Dictionary of Music and Musicians (pp. 790-791). London: Macmillan Publishers.

Shoocongdej, R. (2020). From (different) Horizons of Rockshelter in Highland Pang Mapha, Mae Hong Son, Thailand. Retrieved from http://www.rasmishoocongdej.com/fdhrs-
exhibition/exhibition/

Solís, T. (2004). Teaching What Cannot be Taught: An opticmistic overview. Performing Ethnomusiclogy: Teaching and representation in world music ensemble. Berkeley: University of Califonia Press.

"เครื่องมือ / เกณฑ์การประเมินและวัดผล ท่านสามารถอีเมล์มาสอบถามยังผู้เขียนได้ที่ suppabhorn@pgvim.ac.th"

Book3: Week 02: Text
bottom of page