top of page
อักษรศิลป์.jpg

Week 03: Case Study

สัปดาห์ที่ 03

หัวข้อเรื่อง:       

กรณีศึกษา อักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง  


Case Study: Aksornsilpa, creative music and arts camp


รายละเอียด:     

กรณีศึกษา อักษร – ศิลป์ เพื่อน้องฯ เป็นค่ายดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์สามารถเป็นแนวทางในการดำเนินงานรูปแบบดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 โดยกิจกรรมมีการบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่น ๆ ทำให้มีลักษณะเฉพาะและเกิดการเรียนรู้ในการทำงานในพื้นที่ศึกษา ก่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายและชุมชน กรณีศึกษาดังกล่าวมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปีทำให้เห็นการพัฒนาการทางด้านการจัดกิจกรรมและมีเป้าหมายในการสร้างและพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

Book3: Week 03: Welcome

การดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 เป็นการพัฒนาแนวคิดการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคมโดยผู้เรียนควรตระหนักรู้ถึงการเป็นพลเมืองคนหนึ่งของโลก ในการบูรณาการกับความรู้กับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนได้จากวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ ฯ ในหัวข้อนี้เป็นการยกตัวอย่าง กรณีศึกษาในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคมที่จะชี้ให้เห็นกระบวนการออกแบบ กระบวนการทำงานในลักษณะของการบูรณาการความรู้จากหลากหลายสาขา เพื่อเป็นแรงขับให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์งานเพื่อประชาสังคมจากการประยุกต์และบูรณาการทักษะทางดนตรีของผู้เรียนเป็นสำคัญ

อักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ

Book3: Week 03: Text

“การพัฒนาบ้านเมืองจักเกิดได้ก็ด้วยการปลูกฝังการศึกษาทุก ๆ ด้านแก่เด็ก

จนเป็นรากฐานอันมั่นคงที่จะพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้ต่อไป”

พระราชดำรัสของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

Book3: Week 03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.57.01.pn
Book3: Week 03: Image

กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา-ธรรมศาสตร์ 3 ณ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตากเป็นกิจกรรมที่มีความร่วมมือจากคณะอักษร-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เมื่อนิสิตนักศึกษาในกิจกรรมมีความหลากหลายในความรู้ทำให้เกิดความท้าทายในการดำเนินงานในลักษณะของการบูรณาการ ผู้เขียนในฐานะผู้อำนวยการศิลป์และทำหน้าที่เป็นกระบวนกร (facilitator) ให้กับนิสิตนักศึกษาอาสาสมัครของกิจกรรมตลอดสามปีของการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2562 เห็นพัฒนาการในการดำเนินกิจกรรมจากการทำงานกับครูและนักเรียนในโรงเรียนในการดำเนินงานปีที่หนึ่งทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับคนในชุมชนทำให้ปีที่สองได้พัฒนาถึงการเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันการแลกเปลี่ยนความรู้ทางดนตรีกับผู้คนในชุมชน และการดำเนินการปีที่สามได้เข้าถึงการร่วมกันหารือแนวทางในการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน กิจกรรมได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิมหาจักรีสิรินธรและสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดสามปีของการดำเนินงาน ดังรูปที่ 11

แนวคิดในการดำเนินงาน อักษร-ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 1

ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 1 เป็นการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ทางด้านดนตรีและศิลปะแบบผู้คนมีส่วนร่วมในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา-ธรรมศาสตร์ 3 มีกระบวนการการทำงานผ่านมุมมองเชิงคุณค่า (ศุภพร, ค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้อง: ดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์แบบผู้คนมีส่วนร่วม, 2560) ประกอบด้วย

  1. การตั้งคำถามถึงการบูรณาการความรู้จากนิสิตนักศึกษาที่มีความหลากหลายทางทักษะและความรู้

  2. การหาคำตอบจากการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่ได้ออกแบบไว้

  3. การแก้ไขปัญหาระหว่างการดำเนินงานให้สอดคล้องและเหมาะสมผ่านการบูรณาการความรู้ทางวัฒนธรรมใหม่ผสมผสานกับแนวคิดทางดนตรีและศิลปะกับชุมชนได้

  4. การทวนผลสัมฤทธิ์จากการนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชน (showcase) โดยเปิดพื้นที่ให้กับเยาวชนและคนในชุมชนได้มีโอกาสรับชมผลลัพธ์ของการดำเนินกิจกรรม

ลักษณะการดำเนินงาน

คณาจารย์ทำหน้าที่เป็นกระบวนกรในการกำกับดูแลและให้คำปรึกษา และดูทิศทางให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังภาพที่ 12 ประกอบไปด้วย

Book3: Week 03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.57.18.pn
Book3: Week 03: Image
  1. การประชุมหารือของนักศึกษาแบบมีกระบวนกร ลักษณะของการอบรมเชิงปฏิบัติการ

  2. การบริหารจัดการค่ายฯ การแบ่งหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการบริหารคนในค่าย ในการจัดระเบียบที่พัก อาหาร ฯ

  3. การจัดกิจกรรมและการอบรมเชิงปฏิบัติการ 

  4. การนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชน

กิจกรรมและการอบรมเชิงปฏิบัติการ

  1. ห้องสมุด

    1. จัดระเบียบห้องสมุดให้สอดคล้องกับนักเรียนโดยใช้ระบบแบบอิงสี (colour label)

    2. กิจกรรมหนังสือร้องไห้ ปลูกจิตสำนึกในการดูแลรักษาหนังสือ

  2. ปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล

    1. ภาพวาดบนผนังเสริมสร้างจินตนาการ

    2. หุ่นยนต์ประดิษฐ์จากขยะ

  3. กิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์

    1. สุขลักษณะที่ดี บทเพลง “ล้างมือ”

    2. ร่วมกันประพันธ์เพลงที่เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนแม่หละทั้งภาษาไทยและปกาเกอะญอ

  4. การนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชน ได้รับความสนใจจากผู้ชมทั้งกลุ่มชุมชน

ผลลัพธ์ในการดำเนินงาน

จากการดำเนินงานทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษาอาสาสมัครและคนในชุมชนชัดเจนทั้งสองทาง (Suwanpakdee & Poktihitiyuk, 2018) จากการแปรเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิงในความสัมพันธ์กันทางสังคมระหว่างผู้ดำเนินกิจกรรมและเยาวชนในพื้นที่ซึ่งอาจารย์เรียกได้ว่าเป็นปรากฎการณ์ “จับมือมั่น” (พงษ์เทพ, 2560) ซึ่งมาจากชื่อเพลงของการระดมทุนสร้างอาคารอเนกประสงค์ อักษร-ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปัจจุบันเป็นเพลงประจำโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา-ธรรมศาสตร์ 3


แนวคิดในการดำเนินงาน อักษร-ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2

ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 นอกจากดำเนินกิจกรรมในลักษณะของดนตรีและศิลปะแบบผู้คนมีส่วนร่วม (participatory) ผู้เขียนได้ปรับกระบวนทัศน์ในการดำเนินกิจกรรมทำให้มีความยืดหยุ่นและเป็นธรรมชาติมากขึ้น อีกทั้งยังคงมีกระบวนการการทำงานผ่านมุมมองเชิงคุณค่าโดยสร้างความท้าทายในการดำเนินงานให้กับนิสิตนักศึกษาอาสามาสมัครและการบูรณาการความรู้ระหว่างสาขาวิชาในการดำเนิน
กิจกรรมากขึ้น ด้วยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างชุมชน โรงเรียน และกลุ่มนิสิตนักศึกษาอาสาสมัครผ่านการเรียนรู้วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านและส่งต่อความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ในพื้นที่จากการบูรณาการกิจกรรมทางภาษาศาสตร์ ดนตรี และเทคโนโลยี (ศุภพร, แนวคิดค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 มโนทัศน์ความเป็นจิตอาสา, 2561)

ลักษณะการดำเนินงาน

คณาจารย์ทำหน้าที่เป็นกระบวนกรในการกำกับดูแลและให้คำปรึกษา และดูทิศทางให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงานกลุ่มนิสิตนักศึกษาอาสาสมัครเป็นกระบวนกรในการดำเนินกิจกรรมได้พร้อมกับสร้างกลุ่มผู้นำเยาวชนในการดำเนินกิจกรรมในการทำงานสร้างสรรค์ผ่านความรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านโดยมีหัวใจสำคัญคือการเป็นอาสาสมัครที่ดี (volunteerism) เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนในพื้นที่ศึกษา  ดังภาพที่ 13  

Book3: Week 03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.57.34.pn
Book3: Week 03: Image

กิจกรรมและการอบรมเชิงปฏิบัติการ

  1. ละครชุมชน (community theatre) จากการสำรวจวัฒนธรรมพื้นบ้านนำมาตีความและประยุกต์ให้มีความร่วมสมัย

  2. การเรียนรู้บทเพลงพื้นบ้านโดยใช้แนวคิดในการทำงานดนตรีข้ามวัฒนธรรม (เรียนรู้ ตีความ บรรเลง ส่งต่อ) ดังรูปที่ 14 (ชาญณรงค์, เขตสิน , และ ฉมามาศ, 2561)  และรูปที่ 15 (เบญจมาศ , ธรณ์ , และ นรากร, 2561)

  3. กิจกรรมฝึกสอนภาษาอังกฤษโดยบูรณาการกับความรู้ทางดนตรี

  4. บทเพลงร้องเสริมสร้างกำลังใจให้กับครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

  5. การนำเสนอผลงานพร้อมถ่ายทอดสดผ่านสื่อสารสนเทศ

Book3: Week 03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.58.53.pn
Book3: Week 03: Image
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.58.22.pn
Book3: Week 03: Image

ผลลัพธ์ในการดำเนินงาน

การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาแต่ละสถาบันการศึกษาเกิดการบูรณาการความรู้ในการออกแบบและดำเนินกิจกรรม ลดทอนกำแพงของความรู้ที่แต่ละคนมีทักษะที่แตกต่างกัน การเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินกิจกรรมสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้แก่กันและกันระหว่างชุมชนและกลุ่มนิสิตนักศึกษา

แนวคิดในการดำเนินงาน อักษร-ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 3

 จากการดำเนินงานสองปีที่ผ่านมานำไปสู่การสร้างความยั่งยืนในพื้นที่ด้วยการสร้างผู้นำเยาวชนในพื้นที่ ซึ่งเกิดจากการหว่านเมล็ดพันธุ์จากการทำงานอาสาสมัครและเข้าใจในพื้นที่มากขึ้น โดยการเปิดพื้นที่ให้นิสิตนักศึกษาได้เป็นพี่เลี้ยง (mentor) จากศิษย์เก่าของค่ายสองปีที่ผ่านมาในการให้คำปรึกษาในการทำงานให้กับนิสิตนักศึกษาอาสาสมัครที่เข้ามาดำเนินกิจกรรมเป็นปีแรก พร้อมกับการสร้างผู้นำเยาวชนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นในการประสานงานและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีโอกาสได้แสดงความสามารถในการดำเนินกิจกรรม และการหารือความต้องการของชุมชนตามแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability development) (ศุภพร , แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้องปีที่ 3 (พ.ศ. 2562), 2563)

ลักษณะการดำเนินงาน

กิจกรรมที่พัฒนาจากความรู้ทางวัฒนธรรมกลุ่มนิสิตนักศึกษาทีมีประสบการณ์สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการใหม่ โดยคณาจารย์มีเป้าหมายในการรับฟังความต้องการของชุมชนเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนเป้าหมาย แต่ยังคงให้คำปรึกษาและสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มนิสิตนักศึกษาด้วย ดังรูปที่ 16

Book3: Week 03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.58.42.pn
Book3: Week 03: Image

กิจกรรมและการอบรมเชิงปฏิบัติการ

  1. การเรียนรู้บทเพลงพื้นบ้านโดยใช้แนวคิดในการทำงานดนตรีข้ามวัฒนธรรม โดยเพิ่มสีสันและกระบวนวิธีในการดำเนินกิจกรรมให้มีความสนุกมากขึ้นจากการบูรณาการการออกแบบกิจกรรมในหลากหลายสาขาวิชา และกิจกรรมดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์อื่น ๆ ดังรูป 17

Book3: Week 03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.58.53.pn
Book3: Week 03: Image

  2. กิจกรรมสร้างแผนที่กลวิธีในการเรียนแบบมานุษยวิทยา ดังรูปที่ 18 และ 19

Book3: Week 03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.59.15.pn
Book3: Week 03: Image
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.59.25.pn
Book3: Week 03: Image

  3. ประชุมหารือความต้องการของชุมชน

  4. การนำเสนอผลงานต่อสาธารณชนและการเปิดเวทีให้กับศิลปินพื้นบ้านได้สืบสานวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน ดังรูปที่ 20

Book3: Week 03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 10.59.42.pn
Book3: Week 03: Image

ผลลัพธ์ในการดำเนินงาน

ทราบถึงความต้องการของชุมชนในด้านความต้องการได้รับความช่วยเหลือในด้านการเกษตร กิจกรรมยังได้รับความสนใจจากชุมชน และกลุ่มนิสิตนักศึกษาอาสาสมัครสามารถทำงานได้บรรลุตามกิจกรรมที่ได้ออกแบบไว้อย่างบูรณาการได้เป็นอย่างดี และอักษร-ศิลป์ พร้อมที่จะรับกลุ่มนิสิตนักศึกษาจากสถาบันฯ อื่น ๆ ในการพัฒนาค่านิยมและความตระหนักรู้ให้แก่ชุมชนและสังคมในฐานะแนวปฏิบัติที่ดีของการทำกิจกรรมเพื่อประชาสังคม

บทสรุป

อักษร-ศิลป์ เพื่อน้อง เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการบูรณาการความรู้ทางดนตรีและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแก่ประชาสังคมได้เป็นอย่างดี มีการพัฒนากระบวนการมาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปี แสดงให้เห็นถึงการพัฒนา
ทีละขึ้นตั้งแต่การดำเนินงานปีที่หนึ่งถึงปีที่สาม สร้างความรู้จากการปฏิบัติภาคสนามตามความต้องการของชุมชนทีละชั้นอย่างเป็นระบบ  

เอกสารอ้างอิง

ชาญณรงค์ เฮงอรุณประสาน, เขตสิน จูจันทร์, และ ฉมามาศ แก้วบัวดี. (2561). เรื่องเล่าเคล้าเสียงฝน: ศึกษาวัฒนธรรมชุมชน หมู่บ้านแม่ออกฮู ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก. ใน ศุภพร สุวรรณภักดี (บ.ก.), ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ปีที่ 2 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (หน้า 43-48). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบญจมาศ ไม้เกตุ, ธรณ์ ทักษิณวราจาร, และ นรากร ปัญญาวรวุฒิ. (2561). บทเพลง ซ่ะ เก่อ ยื่อ บะ (ถวิลหา). ใน ศุภพร สุวรรณภักดี (บ.ก.), ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ปีที่ 2 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (หน้า 57). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์เทพ จิตดวงเปรม. (2560). ปรากฎการณ์ "จับมือมั่น". ใน ศุภพร สุวรรณภักดี บรรณาธิการ, ค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้อง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา-ธรรมศาสตร์ 3 ต. แม่หละ อ. ท่าสองยาง จ. ตาก (หน้า 8-9). กรุงเทพฯ : หยินหยางการพิมพ์. ศุภพร สุวรรณภักดี. (2560). ค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้อง: ดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์แบบผู้คนมีส่วนร่วม. ใน ศุภพร สุวรรณภักดี (บ.ก.), ค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้อง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (หน้า 7). กรุงเทพฯ : หยินหยาง การพิมพ์.

ศุภพร สุวรรณภักดี. (2561). ค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 กิจกรรมดนตรีและศิลปะแบบ (คน) มีส่วนร่วมสู่ความเข้าใจ (คน) ในชุมชน. ใน ศุภพร สุวรรณภักดี (บ.ก.), ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา-ธรรมศาสตร์ 3 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (หน้า 29-32). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภพร สุวรรณภักดี. (2561). แนวคิดค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 มโนทัศน์ความเป็นจิตอาสา. ใน ศุภพร สุวรรณภักดี (บ.ก.), ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ปีที่ 2 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (หน้า 29-32). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภพร สุวรรณภักดี . (2563). แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้องปีที่ 3 (พ.ศ. 2562). ใน ศุภพร สุวรรณภักดี (บ.ก.), ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ปีที่ 3 โรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดนจุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 ตําบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (หน้า 34-43). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

"เครื่องมือ / เกณฑ์การประเมินและวัดผล ท่านสามารถอีเมล์มาสอบถามยังผู้เขียนได้ที่ suppabhorn@pgvim.ac.th"

Book3: Week 03: Text

Suppabhorn Suwanpakdee

Princess Galyani Vadhana Institute of Music

bottom of page