top of page
กลุ่มนำเสนอ.jpg

Week 07-11: Fieldwork 1 – 4 and Showcase

สัปดาห์ที่ 07-11

หัวข้อเรื่อง:       

งานกลุ่มภาคสนาม 1 - 4 และการนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชน

Fieldwork 1 – 4 and Showcase


รายละเอียด:     

การปฏิบัติภาคสนามจากโครงร่างงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 เป็นการปฏิบัติภาคสนามจากการออกแบบโครงร่างงานดนตรีเพื่อประชาสังคมที่ใช้กระบวนวิธีทางดนตรีประยุกต์ให้เข้ากับบริบทและความต้องการของชุมชนโดยใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความแตกต่างจากรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 โดยกิจกรรมเป็นการปฏิบัติภาคสนามตามบริบทกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนที่ได้ตกลงไว้ การจดบันทึกการทำงาน และการประเมินและวัดผลตามลำดับ

Book3: Week 07-11: Welcome

ภาคสนาม  

เป็นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) ตั้งแต่สองสาขาวิชาความรู้ขึ้นไป ในการทำงานภาคสนามนี้คือการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางดนตรีกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามการออกแบบโครงร่างกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 โดยอยู่ในบริบทของพื้นที่ที่กลุ่มผู้เรียนจะดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 จากการแก้โจทย์ปัญหาผ่านกระบวนการการเรียนรู้จากโครงงานเป็นฐานนำไปสู่การวิเคราะห์ผลของการดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ พร้อมกับการนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชน ผลลัพธ์ของการเรียนรู้จะมุ่งไปในประเด็นของการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีต่อกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนและความเข้าใจในความเป็นพลเมืองโลกผ่านการดำเนินกิจกรรมของรายวิชา

ในการดำเนินงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 นี้จะเป็นการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ศึกษาโดยผู้เรียนต้องแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ ไม่ซับซ้อนและสามารถอธิบาย (จารุณี, 2560) ความรู้หรือผลการดำเนินกิจกรรมได้ใน 3 ประเด็นคือ


1) ความรู้ในการบริหารจัดการกิจกรรม
2) ผลลัพธ์ของการเรียนรู้จากการทำงานภาคสนาม และ

3) ผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินกิจกรรม ในภาพรวม (Merriam, 1969) โดยมีทักษะที่สำคัญประกอบไปด้วย

  1. ทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม (communication skill)

  2. ทักษะความเป็นนักดนตรี (performing musicianship)

  3. ทักษะจากการศึกษาค้นคว้าและการจัดเก็บข้อมูล (data collection) และ

  4. ทักษะการวิเคราะห์และประเมินผล (analysis)

และในดนตรีเพื่อนปะชาสังคม 3 จะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการทำงานเพิ่มเติมอีกลักษณะหนึ่งคือ

  1. ทักษะการทำงานในรูปแบบของดนตรีกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (interdisciplinary) ด้วย ดังรูปที่

Book3: Week 07-11: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-25 เวลา 11.00.16.pn
Book3: Week 07-11: Image

จากรูปที่  21 แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงในภาพรวมของทักษะในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม  โดยมีเป็นจุดเริ่มต้นจากการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 และ 2 อย่างต่อเนื่อง โดยรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะให้มีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งการดำงานในลักษณะของการบูรณาการ จากการใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำงานภาคปฏิบัติ (OCR, 2020) และพัฒนาทักษะของผู้เรียนในด้านความเป็นนักดนตรี การสื่อสาร การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน และการทำงานในรูปแบบแนวคิดที่เป็นการบูรณาการซึ่งเป็นการเพิ่มทักษะให้กับผู้เรียนผ่านการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 3

การจัดเก็บข้อมูลงานด้านกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 3

การบันทึกภาพถ่ายและวิดีโอ

การถ่ายภาพและการถ่ายวิดีโอเป็นการเก็บรวบรวมขึ้นมูลในเชิงประจักษ์ (explicit evidence) ในการบันทึกเรื่องราวขณะลงปฏิบัติการภาคสนามหรือการนำข้อมูลกลับมาสรุปผล โดยในดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 ควรมีหลักฐานภาพถ่ายและวิดีโอที่ชี้ให้เห็นถึงการเชื่อมโยงความรู้จากความรู้ทางด้านตรีกับศาสตร์อื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรม

การจดบันทึกในลักษณะวันต่อวัน

การจดบันทึกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะการทำงานที่เป็นวันต่อวันสามารถใช้อภิปรายผลของการดำเนินงานได้เป็นหลักฐานในการออกภาคสนามซึ่งเป็นผลจากการลงมือทำและจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ดำเนินกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาได้ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาในขณะปฏิบัติภาคสนาม รวมถึงข้อเสนอแนะในการลงปฏิบัติภาคสนามในวันต่อไปได้

บทสรุป

การนำเสนอผลงานหลังการปฏิบัติการภาคสนามดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 จะทำให้นักศึกษาได้สรุปผลความรู้รวบยอดจากการดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมผ่านการใช้ความรู้ทางด้านดนตรีกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยสามารถเชื่อมโยงความรู้ในส่วนต่าง ๆ ของการดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ


บทสรุป

ในงานภาคสนามของงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจจากความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านตรีกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฐานคิดให้เกิดการออกแบบและปฏิบัติได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 โดยเพิ่มทักษะการดำเนินกิจกรรมที่มีลักษณะของสหวิทยาการที่เพิ่มจากรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 และดำเนินกิจกรรม การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ผล ผู้เรียนจะมีความชำนาญมากขึ้นในการดำเนินกิจกรรมจากการปฏิบัติภาคสนาม
และการนำเสนอผลงานหลังการปฏิบัติการภาคสนามดนตรีเพื่อประชาสังคม 3 จะทำให้นักศึกษาได้สรุปผลความรู้รวบยอดจากการดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมผ่านการใช้ความรู้ทางด้านดนตรีกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยสามารถเชื่อมโยงความรู้ในส่วนต่าง ๆ ของการดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ

เอกสารอ้างอิง

จารุณี มุมบ้านเซ่า. (2560). การวิจัยแบบบูรณาการข้ามศาสตร์. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 25(1), 123-124.

Merriam Alan, P. (1969). Field Techniques in Ethnomusicology: The Basongye (Republic of the Congo). JSTOR, 13(2), 213-229.  doi:10.2307/850146

BOP. (n.d.). Edinburg Festivals Impact Study. เรียกใช้เมื่อ 1 Oct 2019 จาก Edinburgh Festival City: https://www.edinburghfestivalcity.com/assets/000/000/338/BOP_Edinburgh_Festivals_Impact_-_01.05.11_original.pdf?1411035388

Oxford Cambridge & RSA. (2020,). Music in the Community: OCR level 3 Cambridge technical in performing arts. Oxford Cambridge and RSA. https://www.ocr.org.uk/Images/141422-
music-in-the-community.pdf

เครื่องมือ / เกณฑ์การประเมินและวัดผล ท่านสามารถอีเมล์มาสอบถามยังผู้เขียนได้ที่ suppabhorn@pgvim.ac.th"

Book3: Week 07-11: Text
bottom of page