top of page
นำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชน.jpg

Week 10:
Music for Society Showcase

สัปดาห์ที่ 10

หัวข้อเรื่อง:       

การนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชน

Music for Society Showcase  


รายละเอียด:     

การนำเสนอผลงานกลุ่มหลังปฏิบัติการภาคสนามดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 ในลักษณะการจัดการแสดง โดยเลือกผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานดนตรีเพื่อประชาสังคมได้มีโอกาสนำเสนอต่อสาธารณะ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นประโยชน์จากดนตรีที่ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้และประยุกต์จากทฤษฎีและแนวคิดทางดนตรีวิทยากลวิธีสอนกลุ่ม อีกทั้งเป็นการสร้างพื้นที่แสดงให้กับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนได้มีโอกาสในการแสดงออกหลังดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 2  

Book2: Week 10: Welcome

วัฒนธรรมเป็นเป็นเรื่องของจิตสำนึก เป็นเรื่องของคุณความดีภายใน (intrinsic merit)

ความผิดชอบชั่วดี เป็นองค์รวมในจิตใจที่เกี่ยวข้องกับวิถีและวิธีการดำเนินชีวิต

การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรม กิจกรรม
ประดิษฐกรรมต่าง ๆ วัฒนธรรมมีความหลากหลาย มีความซับซ้อน มีความเหลื่อมซ้อนหลายมิติ

มีการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงตามกาลเทศะอย่างต่อเนื่อง

- วิรุณ ตั้งเจริญ (วิรุณ, 2552)

Book2: Week 10: Text

การปฏิบัติภาคสนามโดยนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชนจากการประมวลผลลัพธ์ของการดำเนินกิจกรรมภาคสนามที่ผ่านมาของกลุ่มผู้เรียนโดยจัดกิจกรรมการแสดงโดยเลือกนำเอาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม ซึ่งจะเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนและคนในพื้นที่ที่ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม นำไปสู่การสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกลุ่มผู้เรียนและประชาคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการแบ่งปันความรู้ในลักษณะของการประมวลผลและสรุปความคิดรวบยอดของการดำเนินกิจกรรมได้ ความรู้ความเข้าใจและทักษะที่หลากหลายในรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 นั้นสะท้อนให้เห็นถึง การบริหารศิลปะการดนตรีที่ครอบคลุมในการพัฒนาตนเองและการทำงานเป็นทีม โดยการนำเสนอผลงานในดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 นั้นมีแนวคิดในการดำเนินงานและการบริหารจัดการการแสดงควบคู่กันดังต่อไปนี้

วิธีการเลือกผลลัพธ์สำหรับจัดการแสดงในการนำเสนอผลงาน

ในแต่ละกลุ่มผู้เรียนควรเลือกผลลัพธ์จากกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมที่สอดคล้องกับวัตถุรประสงค์ในการดำเนินกิจกรรม โดยในดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 นี้ควรเลือกกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับทฤษฎีและแนวคิดจากการทำงานผ่านกลวิธีสอนกลุ่ม ผลลัพธ์อาจสมบูรณ์หรือสมบูรณ์เพียงบางส่วนก็ได้ โดยต้องชี้ให้เห็นถึงกระบวนวิธีในการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับการทำงาน ซึ่งผลลัพธ์บางอย่างอาจต้องใช้เวลานานในการฝึกฝนหรือพัฒนาความคิดของกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนนั้น ๆ

แนวทางลักษณะในการนำเสนอผลงาน

การนำเสนอผลงานต่อสาธารณชนควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. พื้นที่ในการจัดการแสดง ควรเป็นพื้นที่ของชุมชนที่สามารถให้คนเข้ามาปฏิสัมพันธ์รับชมรับฟังการแสดงของกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน

  2. ช่วงเวลาในการจัดการแสดง ควรเป็นเวลาที่คนในชุมชนสามารถเข้ามาปฏิสัมพันธ์ได้ เช่นช่วงกลางวัน หรือช่วงเย็นตามแต่บริบทของกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน

  3. การลำดับการแสดงควรดู

  4. การนำเสนอผลงานอาจมีการบรรยายประกอบโดยใช้ทักษะการสื่อสารให้เข้าใจง่ายต่อผู้ฟังประกอบในแต่ละชุดการแสดง เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจกระบวนการและกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติภาคสนาม

  5. การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้แสดงและผู้ฟัง จะทำให้การนำเสนอผลงานแสดงให้เห็นถึงการยกระดับคุณค่าทางจิตใจร่วมด้วย

  6. การแบ่งหน้าที่ร่วมกันของแต่ละกลุ่มผู้เรียนในการบริหารจัดการตามรายการแสดงที่ได้ตกลงไว้

  7. การประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนนั้น ๆ ได้มีโอกาสเตรียมตัวเข้าร่วม

  8. การนำเสนอสื่ออื่น ๆ ประกอบ เพื่อสร้างบรรยากาศและการรับรู้ทางดนตรีที่ดีขึ้นต่อผู้ฟัง เช่น ประมวลภาพการดำเนินกิจกรรม วิดีทัศน์สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน

Book2: Week 10: Text

บทสรุป

การนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชนจากการดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 จะทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสขยายความคิดในการเปิดพื้นที่เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีพื้นที่ในการแสดงออก ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับระหว่างคนในชุมชนและกลุ่มผู้ดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมด้วย โดยมีเครื่องมือวัดผลในการนำเสนอผลงานดังกล่าวใน 4 เกณฑ์ ประกอบด้วย ความน่าสนใจของวิธีการนำเสนอแต่ละกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม คุณภาพของการนำเสนอแต่ละกลุ่ม และภาพรวมของการนำเสนอในแต่ละกลุ่ม

เอกสารอ้างอิง

วิรุณ, ต. (2552). วิสัยทัศน์ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

BOP. (n.d.). Edinburg Festivals Impact Study. Retrieved Oct 1, 2019, from Edinburgh Festival City: https://www.edinburghfestivalcity.com/assets/000/000/338/BOP_Edinburgh_Festivals_Impact_-_01.05.11_original.pdf?1411035388

Kisliuk, M. (2008). (Un)doing Fieldwork Sharing Songs, Sharing Lives. Shadows in the Field: New perspectives for fieldwork in ethnomusicology. Oxford University Press.

OCR. (2020, Jan 18). Music in the Community: OCR level 3 Cambridge technical in performing

arts. From Oxford Cambridge and RSA:

https://www.ocr.org.uk/Images/141422-music-in-the-community.pdf

"เครื่องมือ / เกณฑ์การประเมินและวัดผล ท่านสามารถอีเมล์มาสอบถามยังผู้เขียนได้ที่ suppabhorn@pgvim.ac.th"

Book2: Week 10: Text
bottom of page