top of page
ต่างประเทศ.png

Week 02-03:
Surveys Music for Society Activities

สัปดาห์ที่ 02-03

หัวข้อเรื่อง:     

สำรวจกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมกรณีศึกษาในต่างประเทศ


Surveys Music for Society Activities: Case study in the national and the international

รายละเอียด:    

สำรวจกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม กรณีศึกษาในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเกิดจากความตระหนักรู้ในการนำความรู้ดนตรีไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาสังคม เพื่อเป็นตัวอย่างกิจกรรมทางดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์และความต้องการของประชาสังคม และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรมในภาคการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

Week 02-03: Welcome

กรณีศึกษาในต่างประเทศ

วอร์ ไชลด์ (War Child)  

โครงการบริหารจัดการช่วยเหลือเยาวชนเป็นกลุ่มนักสิทธิมนุษยชนอิสระ (independent humanitarian organisations) ซึ่งกิจกรรมของโครงการเป็นการช่วยเหลือเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสงคราม (armed conflict) โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการช่วยเหลือป้องกันและพัฒนาเยาวชนที่ได้รับผลกระทบ ในช่วงหลังภาวะสงคราม การดำเนินงานของโครงการได้ปฏิบัติการในประเทศดังนี้ อัฟกานิสถาน บุรุนดี เชเชน โคลอมเบีย คองโก เอธิโอเปีย อิรัค อิสราเอล โคโซโว เลบานอน ลิเบอเรีย เซียร์ราลีโอน ศรีลังกา ซูดาน อูกันดา เวสต์แบงค์ และกาซา โดยดูแลเยาวชนในด้านการให้ความช่วยเหลือจากการที่ได้รับผลกระทบของสงคราม (child protection) ด้านการศึกษาให้เยาวชนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ (access to education) ด้านการต่อสู้เพื่อสิทธิต่าง ๆ (justice) ด้านการมีชีวิตความเป็นอยู่ (livelihoods) และทางด้านจิตวิทยาสังคม (psychosocial)

            วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของโครงการวอร์ ไชลด์คือ

  • การให้การดูแลรักษาทางการแพทย์ เป็นที่ปรึกษาให้กับเด็กผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของการทารุณทางเพศ

  • การสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเยาวชน

  • การสร้างโรงเรียนใหม่ที่ถูกทำลายจากภาวะสงครามที่ทำให้เยาวชนไม่สามารถเรียนหนังสือได้

  • เป็นกระบอกเสียงให้กับผู้คนในภาวะสงครามในด้านสิทธิมนุษยชน

โครงการได้สร้างสรรค์อัลบัมเพลงที่ชื่อว่า “Help” ซึ่งออกวางจำหน่ายเมื่อปี 1995 ในการระดมทุนและสร้างความตระหนักรู้ให้กับเยาวชนซึ่งเป็นผลกระทบจากสภาวะสงครามนองเลือดคาบสมุทรบอลข่าน (Balkans) จากการที่ทำกระบวนการกลุ่มกับเยาวชนโดยใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการเยียวยาจิตใจและการพัฒนาสังคมนำไปสู่การสร้างสวัสดิการให้แก่เยาวชนที่ได้รับผลกระทบ และนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานของโครงการวอร์ ไชลด์อย่างหลากหลายอัลบัมด้วยเพื่อใช้ในการระดมทุน  (War Child , 2020)

จับภาพหน้าจอ 2564-04-21 เวลา 11.56.28.pn
Week 02-03: Text

การทำงานของโครงการวอร์ ไชลด์ คำนึงสิทธิเป็นพื้นฐานในการทำงานในพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมและความต้องการที่แตกต่างกันในการให้ความช่วยเหลือเยาวชน หลังจากการทำงานกับเยาวชนของโครงการทำให้เกิดปรากฏการณ์ในการกระตุ้นความร่วมมือภาครัฐบาลรวมถึงเอกชนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้โครงการวอร์ ไชลด์ได้แยกส่วนเป็นอิสระในการบริหารจัดการ แต่อย่างไรก็ตามการทำงานอยู่บนฐานคุณค่าและวัตถุประสงค์เดียวกัน โดยในแต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการให้ความช่วยเหลือที่ต่างกันทำให้ครอบคลุมในการให้ความช่วยเหลือเยาวชนได้มากยิ่งขึ้น สามารถจำแนกความเชี่ยวชาญของแต่ละองค์กร
ดังตัวอย่างเช่น

สหราชอาณาจักร มีความเชี่ยวชาญในการดูแลเยาวชน การให้การศึกษา และต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนจากผลกระทบของภาวะสงคราม รวมถึงการดำรงชีวิตด้วย (War Child UK, 2020)

ฮอลแลนด์ มีความเชี่ยวชาญในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เยาวชน โดยให้การสนับสนุนทางด้านสุขภาพจิตในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญหาสังคมหรือภาวะสงครามโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์ และดนตรี รวมถึงกีฬาเข้ามาให้การช่วยเหลือด้วย อีกทั้งเป็นผู้นำการวิจัยและพัฒนา (research and development)
เป็นการขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชนจากความขัดแย้ง  (War Child Holland, ม.ป.ป.)

สหรัฐอเมริกา มีความเชี่ยวชาญในสามด้านได้แก่ การให้การศึกษา การสร้างโอกาส และการเป็นกระบอกเสียงในการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุ่งเน้นการให้การช่วยเหลือและพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นความท้าทายและตอบสนองความต้องการในขณะเดียวกัน

แคนาดา มีความเชี่ยวชาญในด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับเยาวชน รวมถึงการพัฒนาการเข้าถึงการศึกษาแก่เยาวชนจากที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสงคราม  โดยมีเครือข่ายองค์การความร่วมมือที่แข็งแรงจากการสนับสนุนในภาคชุมชนท้องถิ่นและองค์การที่สนับสนุนอื่น  (Canada, n.d.)

ออสเตรเลีย มีความเชี่ยวชาญในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เยาวชน โดยให้การสนับสนุนทางด้านสุขภาพจิตในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญหาสังคม  (Australia, 2020)

เยาวชนในประเทศซูดาน เติบในมาในสภาพที่ขาดความมั่นคงทางชีวิตพื้นฐาน เช่น การขาดสารอาหาร การเข้าถึงการศึกษา ส่งผลต่อการพัฒนาเยาวชนอย่างมาก เยาวชนบางคนต้องสูญเสียพ่อแม่เนื่องจากสงคราม หรืออาจเกิดจากปัญหาครอบครัวจากการใช้ความรุนแรง ทำให้เยาวชนต้องมาใช้แรงงานเพื่อจะได้รับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ จากสาเหตุดังกล่าว ทำให้การดำเนินงานของโครงการวอร์ ไชลด์ได้มีการพัฒนาการดำเนินงานให้ครอบคลุมและเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น โดยการสร้างความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ การจัดกิจกรรมให้ข้อมูลสำหรับชุมชนในการปกป้องเยาวชนจากการใช้แรงงาน ความรุนแรงในครอบครัว การแลกเปลี่ยนพบปะพูดคุยกับผู้ปกครอง การฝึกอบรมครู แม้กระทั่งการจัดงานวันเด็ก

การที่เยาวชนดำรงชีวิตโดยปราศจากการเลี้ยงดูและให้คำชี้แนะจากผู้ใหญ่ ทำให้พื้นฐานชีวิตของเยาวชนมีความเสี่ยงในหลายปัจจัย ดังเช่น การใช้สารเสพติด อาชญากรรม ทำให้ทางโครงการวอร์ ไชลด์ได้จัดตั้งศูนย์เยาวชนในค่ายพลัดถิ่น ซึ่งเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงการศึกษาเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านสุขภาพ ให้ความรู้ในด้านความรุนแรงทางเพศ รวมถึงการฝึกอาชีพให้กับเยาวชนด้วยเพื่อเพิ่มรายได้ของครอบครัว  ในด้านกิจกรรมกีฬาและดนตรีเป็นกิจกรรมที่มุ่งหมายให้เยาวชนได้ลืมความทุกข์จากความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยศูนย์จะมอบหมายภาระหน้าที่ให้ปฏิบัติจนเกิดภาวะผู้นำแสดงให้เห็นถึงการสร้างสภาวะผู้นำให้แก่เยาวชน

โครงการวอร์ ไชลด์ถือได้ว่าเป็นองค์การที่สร้างความรู้ให้แก่เยาวชนและผู้นำชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในภาวะสงครามและความรุนแรง เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนได้มีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยโครงการสามารถติดตามผลของกลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วม และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเยาวชนอีกด้วย

เซโรโทนิน ดรัม คลับ (Serotonin Drum Club)

Week 02-03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-21 เวลา 12.01.10.pn
Week 02-03: Image

เนื่องด้วยสภาวะการแข่งขันทางสังคมที่มีอยู่สูงมากทำให้เยาวชนในสาธารณรัฐเกาหลีใต้พบกับความเป็นโรคซึมเศร้านำไปสู่การทำร้ายตัวเองหรือแม้กระทั่งการปลิดชีพตัวเอง ทำให้บริษัทประกันชีวิตซัมซุง ได้ออกกิจกรรมเพื่อสังคมโดยการจัดตั้งกลุ่มเครื่องกระทบทั้งในและต่างประเทศภายใต้ชื่อ เซโรโทนิน ดรัม คลับ ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 2011 โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับเยาวชนและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไปพร้อมกัน กิจกรรมทำให้เกิดการฝึกซ้อมดนตรีร่วมกันและการจัดเทศกาลการแข่งขันดนตรี “Art Dream Project” (Kim, 2016) ดังกล่าว ณ ศูนย์วัฒนธรรมกูกัค (Gugak Center) โดยในการแข่งขันมีวิธีการตัดสินที่น่าสนใจอยู่สองประการได้แก่ 1) ความสามารถในการบรรเลงปฏิบัติที่เป็นทีม และ 2) ทัศนคติของผู้เข้าแข่งขัน ทั้งนี้กิจกรรมเพื่อสังคมดังกล่าวมีการขยายไปยังอีกหลายโรงเรียน อาทิ โรงเรียนทางเลือก หรือโรงเรียนในท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียด้วย  (Joo-won, 2013)

Week 02-03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-21 เวลา 12.03.34.pn
Week 02-03: Image

ศาสตราจารย์ ซีฮยุงลี (Professor Si Hyung Lee) จิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงของสาธารณรัฐเกาหลีใต้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง อดีตนายกสมาคม Neurology แห่งประเทศเกาหลีใต้ และ ผู้ก่อตั้ง Serotonin Drum Club  มีงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ประยุกต์ร่วมเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมเซโรโทนิน ดรัม คลับของซีฮยุงลีเกี่ยวกับการเติบโตทางสังคมและอุตสาหกรรมส่งผลต่อระดับความเครียด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมางานวิจัยมุ่งเน้นในการพัฒนาบทบาทสังคมของผู้หญิงและเยาวชน ต่อมา ค.ศ. 2000 ได้เคลื่อนไหวกิจกรรมในด้านวัฒนธรรมและสุขภาพ งานวิจัยในเรื่องสารความสุขฮอร์โมนเซโรโทนิน ถูกพบในครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1950 และเป็นที่แพร่หลายในยาโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นฐานคิดของงานวิจัยในการค้นคว้าและส่งเสริมฮอร์โมน
เซโรโทนินโดยเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้คนในช่วงเวลานี้ สารความสุขเซโรโทนิน มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์การนอนหลับ ความอยากอาหารของผู้คน ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดความสุขแตกต่างจากสารเอนดอร์ฟินซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นความรู้สึกทันที โดยสารเซโรโทนินจะช่วยให้คนรู้สึกพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางและสามารถทำให้ความรู้สึกนั้นคงอยู่ตลอด  ในด้านดนตรี ซีฮยุงลีและซึนคิม (Professor Sngkn Kim, Seoul National University) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ไม้กลองตีไปบนกลองโดยลักษณะการตีกลองจะช่วยให้กระตุ้นสารเซโรโทนินออกมา ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวเข้ากับสังคมของเยาวชนผ่านการทำงานที่เป็นลักษณะของการทำงานเป็นทีม (teamwork) ทำให้เยาวชนมีกิจกรรมที่ส่งเสริมประโยชน์ให้กับตนเองและลดความตึงเครียดจากสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจอีกด้วย (Sun-min, 2010)

กิจกรรมดังกล่าวนำไปสู่แนวคิดในการที่ดนตรีมีบทบาทในการรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนและประชาชนในเกาหลีใต้ที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยแสดงให้เห็นว่าประชากรที่มีความเสี่ยงในภาวการณ์ฆ่าตัวตายลดน้อยลง รวมถึงภาวะความซึมเศร้าด้วย แนวคิดในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวสามารถส่งแรงกระตุ้นในทางความคิดให้แก่นักดนตรี วงการวิชาการในลักษณะของสหวิทยาการเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาสังคมด้วย

กิจกรรม/การเรียนการสอนด้านดนตรีเพื่อประชาสังคมในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

ในด้านมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมีกิจกรรมหรือหลักสูตรที่มุ่งเน้นในด้านการเรียนการสอนในรูปแบบดนตรีเพื่อประชาสังคมในหลาย ๆ สถาบันด้วยกัน โดยในที่นี้จะนำเสนอกรณีศึกษาตัวอย่างกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมใน 4 สถาบันการศึกษา ประกอบด้วย

  1. University of Edinburg สหราชอาณาจักร

  2. University of Yorks สหราชอาณาจักร

  3. University of Iowa สหรัฐอเมริกา

  4. Yong Siew Toh Conservatory, National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์​

Week 02-03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-21 เวลา 12.11.18.pn

University of Edinburge I Retelling of epic tale fills quad with music

รองศาสตราจารย์ ดร. ดี ไอแซค (Dr Dee Isaacs, senior lecturer) หัวหน้าหลักสูตรดนตรีกับชุมชนจากมหาวิทยาลัย
เอดินเบอระนำนักศึกษาทำงานร่วมกับนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียน ลีท วอล์ค (Leith Walk School) ร่วมกับนักแสดงอาชีพ เป็นการแสดงนิทานเพลงที่ชื่อว่า Rime of the Ancient Mariner (บทกวีของกะลาสีชรา) ประพันธ์ในปี 1798 บทกวีของแซมมวล เทย์เลอร์ คอเลริดจ์ (Samuel Taylor Coleridge) นักกวีชาวอังกฤษ ที่มีแรงบันดาลใจที่สำคัญจากธรรมชาติ ลักษณะของบทกวีมีลักษณะเป็นงานเขียนประเภทลำนำเล่านิทานหรือบัลลาด (Ballad) มีการสัมผัสในฉันทลักษณ์เพื่อให้เรื่องราวดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เรื่องราวเกี่ยวข้องกับกะลาสีเรือที่กลับมาจากการเดินทางจากทะเลอันไกลโพ้น นำไปสู่การพัฒนาแนวคิดในการทำงานดนตรีของไอแซค การนำเสนอผลงานนิทานเพลงดังกล่าวในการทำกิจกรรมดนตรีโดยเปลี่ยน ณ จตุรัส Old College ให้กลายเป็นเวทีแสดงสาธารณะ (Isaacs, 2020)

Week 02-03: About Us
จับภาพหน้าจอ 2564-04-21 เวลา 12.17.14.pn
Week 02-03: Image
จับภาพหน้าจอ 2564-04-21 เวลา 12.17.21.pn
Week 02-03: Image

University of Edinburge I Music in the Community Returns to Greece to Engage Refugee Children in Music Making

 กิจกรรมดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์โดยอาจารย์และนักศึกษาในความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเอดินเบอระทำงานร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ (National and Kapodistrian University of Athens) โดยทำงานสร้างสรรค์กับผู้ลี้ภัยชาวกรีกผ่านกิจกรรมดนตรีชุมชน โดยมีเป้าหมายคือทำงานกับเยาวชนในค่ายผู้ลี้ภัย ผู้ปกครอง เพื่อเยียวยาจากภาวะสงครามผ่านกิจกรรมดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์ (Isaacs, 2017) จากการทำงานดังกล่าว พบว่า พวกเราทุกคนมีความหวังโดยได้พบพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมดนตรี ทำให้เห็นพลังของเยาวชนผ่านความตั้งใจในกิจกรรมที่เข้าร่วมส่งผลให้เกิดการส่งสารที่มีผลกระทบเกิดในวงกว้าง [ตัวอย่างวิดีโอกิจกรรม https://vimeo.com/245156701]

Week 02-03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-21 เวลา 12.22.46.pn
Week 02-03: Image

University of Yorks I Music in the Community Returns to Greece to Engage Refugee Children in Music Making

กิจกรรมดนตรีที่สามารถนำไปสู่ความต้องการพิเศษอื่น ๆ (special needs) รวมถึงความเข้าใจในทักษะทางด้านดนตรีที่เปลี่ยนแปลงไปและความเลื่อนไหลด้านความต้องการของชุมชน สังคม ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านดนตรีสำหรับแม่และลูกในทัณฑสถาน (The impact of music workshops on mothers and babies in prison) ของอาลี (Ali) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากหลักสูตรดนตรีชุมชนจากมหาวิทยาลัยยอร์ค สหราชอาณาจักร จากการดำเนินงานพบว่า ดนตรีสามารถสร้างความเข้าใจความเป็นแม่ก่อนลูกได้กำเนิดได้เป็นอย่างดี

[ตัวอย่างวิดีโอกิจกรรม https://www.youtube.com/watch?v=6IxPG5TCy6E&feature=emb_logo]


The University of Iowa I Singing Connected Relationships in Prison Contexts

 กิจกรรมดนตรีกับผู้ถูกคุมขังในทัณฑสถานและผู้คนในบริบทอื่น ๆ แม้กระทั่งมีส่วนร่วมในงานทางด้านการแพทย์ด้วย (Cohen, 2018) แสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้ทางดนตรีสามารถก้าวข้ามกระบวนทัศน์เดิม (paradiagm) ไปสู่การทำงานที่ข้ามสาขาวิชาทำให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และสร้างผลกระทบที่น่าสนใจให้กับวงการดนตรี [ตัวอย่างวิดีโอกิจกรรม

https://www.youtube.com/watch?time_continue=9&v=nJhbnS17c3M&feature=emb_logo]

Week 02-03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-21 เวลา 12.22.56.pn
Week 02-03: Image

Yong Siew Toh Conservatory, National University of Singapore I Outreach Programme

เป็นกิจกรรมที่เพิ่มประสบการณ์ให้กับเยาชนตลอดจนครอบครัวได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมซึ่งเป็นโมเดลในการพัฒนาอาชีพของบัณฑิตจากสถาบันดนตรีย่งเสี่ยวโถว โดยมีกิจกรรมอบรมดนตรีในรูปแบบปฏิบัติการในบรรยากาศที่มีความสนุกสนานและได้สร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านดนตรีให้แก่ประชาสังคม โดยมุ่งเน้นในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาผู้ฟังดนตรีคลาสสิกรวมถึงดนตรีรูปแบบอื่น ๆ อย่างมีความยั่งยืนและต่อเนื่อง [เพิ่มเติม ดู  https://www.ystmusic.nus.edu.sg/outreach/]

Week 02-03: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-21 เวลา 12.23.19.pn
Week 02-03: Image

บทสรุป

กรณีศึกษาดนตรีเพื่อประชาสังคมในต่างประเทศจากตัวอย่างที่ได้บรรยายและร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน จะเห็นได้ว่ามีกิจกรรมหลายรูปแบบที่สามารถสร้างความตระหนักรู้จนกระทั่งยกระดับชีวิตผู้คนผ่านดนตรีในหลากหลายสภาวะและความต้องการของชุมชนในช่วงเวลานั้น โดยใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมจากการพัฒนาแนวคิดและการสร้างสรรค์กิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม

เอกสารอ้างอิง

CAHSS. (2017). Music in the Community Returns to Greece to Engage Refugee Children in Music Making. Retrieved October 1, 2018, from https://vimeo.com/245156701

Cohen, M. (2014). Incarcerated in Iowa: Mary Cohen. University of Iowa. Retrieved August 2, 2019,

from https://www.youtube.com/watch?v=nJhbnS17c3M&feature=emb_logo 

Cohen, M. (2018). Mary Cohen . Retrieved January 10, 2019, from The University of Iowa: https://music.uiowa.edu/people/mary-cohen

Isaacs, D. (2017, July 19). Music in the Community returns to Greece to engage refugee children in music-making. Retrieved December 10, 2018, from The University of Edinburgh, Edinburgh College of Art: https://www.eca.ed.ac.uk/news/music-community-returns-greece-engage-refugee-children-music-making

Isaacs, D. (2020, October 8). Rime of the Ancient Mariner. Retrieved October 8, 2020, from

http://www.deeisaacs.com/rime-of-the-ancient-mariner/

Joo-won, C. (2013, 10 29). Samsung Life supports music making. Retrieved 05 8, 2020, from

http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20131029000933&mod=skb

Sun-min. (2010). Psychiatrist stresses the slow life. Korea Joongang Daily (in association with New York Times), from https://koreajoongangdaily.joins.com/news/article/article.aspx?aid=2923624

War Child . (2020). Retrieved May 5, 2020, from www.warchild.org

War Child Holland. (n.d.). Retrieved May 1, 2020, from https://www.warchildholland.org/research-and-development/

War Child UK. (2020). Retrieved May 2, 2020, from https://www.warchild.org.uk/what-we-do   

YST Conservatory, NUS. Outreach: A Collection of News and Stories from in and around YST. Retrieved October 2, 2020, from https://www.ystmusic.nus.edu.sg/outreach/#

Week 02-03: Text
bottom of page