top of page
Week 01: Orientation, Evaluation Method
สัปดาห์ที่ 1
หัวข้อเรื่อง:
แนะนำรายวิชา วิธีวัดประเมินผล ดนตรีเพื่อประชาสังคม 2
Orientation, Evaluation Method: Music for Society 2
รายละเอียด:
แนะนำรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 มีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้วิธีโครงงานเป็นฐาน (project-based learning) และแนวทางในการวัดและประเมินผลผู้เรียน รวมถึงเกริ่นนำถึงการพัฒนางานดนตรีเพื่อประชาสังคมให้มีผลกระทบมากขึ้นและสามารถประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนของเคมบริดจ์ในสาขาดนตรีชุมชนอยู่ในระดับดีและสามารถพัฒนาต่อได้ (merit) ตามการเรียนรู้ดนตรีชุมชน
Book2: Week 01: Welcome
ดนตรีเพื่อประชาสังคม 2
อับบราฮัม มาสโลว์ กล่าวว่านักดนตรีต้องสร้างดนตรี ศิลปินต้องสร้างงานศิลปะ กวีต้องเขียน ในที่สุดความสุขย่อมอยู่กับตัวเขาเอง ดังรูปที่ 1
Book2: Week 01: Text
Book2: Week 01: Image
กิจกรรมสร้างสรรค์ทางดนตรีที่มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มชุมชนโดยมีความสอดคล้องกับสภาวะและความต้องการของกลุ่มชุมชนที่แตกต่างกัน โดยจัดในพื้นที่หรือกลุ่มชุมชนที่แตกต่างจากดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 และครอบคลุมกลุ่มผู้ชมมากขึ้น โดยมีมุ่งหมายของรายวิชา 2 ประการสำคัญคือ
นักศึกษานำกระบวนวิธีคิดในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนหรือสังคม รวมถึงมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงานกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ดนตรีเพื่อประชาสังคม
มุ่งเน้นลักษระการทำงานภาคสนามในรูปแบบกลุ่มและรายบุคคล ในการจัดกิจกรรมดนตรีให้กับกลุ่มชุมชนและกลุ่มเป้าหมายจากทักษะการสื่อสาร ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ที่เป็นประโยชน์จากความรู้ทางดนตรี โดยค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม
โดยรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 จะนำให้นักศึกษาได้มีค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีอย่างสร้างสรรค์ก่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มชุมชนที่ศึกษา จากการออกแบบกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมในลักษณะที่เป็นกลุ่มและรายบุคคลได้
Book2: Week 01: Text
พีระมิดแห่งการเรียนรู้
พีระมิดแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของเบนจามิน บลูม (Benjamin Bloom, 1913 – 1999) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์โดยแบ่งระดับพฤติกรรมสติปัญญาออกเป็น 6 ระดับ ดังรูปที่ 2 (Armstrong, 2010) ได้แก่
การจดจำ (remembering) การนิยามข้อเท็จจริงหรือทบทวนข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียนมาก่อนหน้าKeywords: recognizing, recalling
การทำความเข้าใจ (understanding) การสร้างความหมายที่อาจเป็นข้อความ ภาพ หรือกิจกรรมKeywords: interpretation, exemplifying, classifying, summarizing, interring, comparing, explaining
การประยุกต์ใช้ (applying) การนำเนื้อหาที่เรียนใช้ปฏิบัติในรูปแบบหรือสื่อต่าง ๆ เช่น การนำเสนอ
แบบจำลอง และการเลียนแบบ Keywords: executing, implementing การวิเคราะห์ (analyzing) การแบ่งเนื้อหาหรือแนวคิดออกเป็นส่วน ๆ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันในภาพรวม Keywords: differentiating, organizing, attributing
การประเมินผล (evaluating) การใช้กฎเกณฑ์ที่เป็นมาตราฐานผ่านการตรวจสอบและการวิพากษ์หรือวิจารณ์ Keywords: checking, critiquing
การสร้างสรรค์ (creating) การรวมองค์ประกอบ เรียบเรียงให้เกิดรูปแบบหรือโครงสร้างใหม่ผ่านการสร้าง วางแผน และการดำเนินงาน รวมถึงผลลัพธ์ที่เป็นการผลิต
Keywords: generating, planning, producing
Book2: Week 01: Text
Book2: Week 01: Image
ในกระบวนการเรียนรู้ของรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 เป็นการพัฒนาแนวคิดให้สอดคล้องแนวทางการเรียนรู้ของบลูมมากขึ้น โดยการจัดการเรียนการสอนของภาคการศึกษานี้ผสมผสานระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ กิจกรรมรายวิชาถูกออกแบบให้ปฏิบัติในลักษณะที่เป็นกลุ่มใหญ่และรายบุคคล โดยกำหนดให้ในแต่ละสัปดาห์มีการเรียนการสอนไว้ดังนี้
สัปดาห์ที่ 1 แนะนำรายวิชา วิธีวัดและประเมินผล ดนตรีเพื่อประชาสังคม
สัปดาห์ที่ 2 ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่ม 1: โซลทาน โคดาย
สัปดาห์ที่ 3 ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่ม 2: ชินอิจิ ซูซูกิ
สัปดาห์ที่ 4 แบ่งกลุ่ม: โครงร่างดนตรีเพื่อประชาสังคม
สัปดาห์ที่ 5 สอบกลางภาค: นำเสนอผลงานจากโครงร่างกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม
สัปดาห์ที่ 6 - 9 งานภาคสนามกลุ่มและรายบุคคล 1 - 4
สัปดาห์ที่ 10 การนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชน (Showcase)
สัปดาห์ที่ 11 การนำเสนอผลงานหลังปฏิบัติการภาคสนามดนตรีเพื่อประชาสังคม 2
สัปดาห์ที่ 12 - 13 อภิปรายผลรายบุคคล 1 - 2
จะเห็นได้ว่าผู้เรียนจะได้รับความรู้ผ่านภาคทฤษฎีในเรื่องของทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่ม 2 สัปดาห์ เป็นการบรรยายและสาธิตโดยใช้แนวคิดของโซลทาน โคดาย (Zoltán Kodály) และดร.ชินอิจิ ซูซูกิ (Shinichi Suziki)
สัปดาห์ที่ 4 เป็นการแบ่งกลุ่มในการร่างโครงร่างดนตรีเพื่อประชาสังคม โดยนักศึกษามีความรู้จากดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 แล้วโดยนำเอามาพัฒนาต่อเพื่อสร้างเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากแนวคิดบลูม และทฤษฎีแนวคิดในการทำงานในลักษณะของการสอนดนตรีแบบกลุ่มหรือเดี่ยว และการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงร่างดนตรีเพื่อประชาสังคม
ในส่วนภาคสนามการลงพื้นที่ขึ้นอยู่กับการประสานงานกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน อาจมีเป็นช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีการปฏิบัติภาคสนามไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง และต้องจัดให้มีการนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชนจากการคัดเลือกกิจกรรมที่ดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนและจัดลำดับการแสดงอย่างมีคุณภาพตามสภาพของพื้นที่
กำหนดให้มีการนำเสนอผลงานหลังปฏิบัติการภาคสนามลักษณะกลุ่มเพื่อประเมินภาพรวมของการดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม และการอภิปรายผลรายบุคคลเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของนักศึกษาจากปัญหา อุปสรรคที่พบ และแนวทางการแก้ปัญหาในการดำเนินกิจกรรม
Book2: Week 01: Text
การเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน
การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานประกอบด้วย 6 กระบวนการสำคัญ ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อม 2) การกำหนดและเลือกหัวข้อ 3) การเขียนโครงงาน/วางแผนงาน 4) การปฏิบัติ 5) การนำเสนอผลงาน 6) การประเมินผล (แขมณี, 2550) เป็นแนวทางในการดำเนินงานดนตรีเพื่อประชาสังคม และที่สำคัญอีกประการหนึ่งการเรียนการสอนในลักษณะนี้จะทำให้นักศึกษารู้จักวางกระบวนวิธีคิด การทำงานที่เป็นระบบและเกิดการเชื่อมโยงความคิดรวมถึงการประเมินผลในการทบทวนการดำเนินกิจกรรมทางดนตรีเพื่อประชาสังคมได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรตระหนักถึงประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มชุมชนที่ดำเนินการเป็นที่ตั้งโดยต้องชี้ให้เห็นว่าเป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่ดีที่เกิดจากการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการสื่อสารที่เข้าใจคนได้เป็นอย่างดี
แนวทางในการประเมินผลรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2
ในการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 ใช้เครื่องมือในการประเมินการจัดการเรียนการสอนของเคมบริดจ์ในสาขาดนตรีชุมชนอยู่ในระดับดีมากและสามารถพัฒนาต่อได้ (merit)
ตามการเรียนรู้ดนตรีชุมชน (OCR, 2020) ดังรูปที่ 3
Book2: Week 01: Text
Book2: Week 01: Image
จากรูปที่ 25 แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ของการศึกษาดนตรีชุมชน แนวคิดการจัดการการเรียนรู้ เคมบริดจ์ เป็นการวัดและประเมินผล 3 ระดับได้แก่ “ผ่าน” (pass) ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ “ดีมาก” (merit) นอกจากเกณฑ์ที่กำหนดให้ผ่านแล้วผู้เรียนยังสามารถพัฒนาได้ต่อ และ “ดีเยี่ยม” (distinction) นอกจากผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการพัฒนาในส่วนต่าง ๆ แล้วยังสามารถแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องต่างๆ จาก 4 มิติผลลัพธ์การเรียนรู้ประกอบด้วย
ความรู้ความเข้าใจการบริบทของวัฒนธรรมชุมชนและกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา โดยผู้เรียนสามารถพัฒนาความคิดในการจัดกิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนนั้นที่มีความลึกซึ้งทางความคิดมากกว่าดนตรีเพื่อประชาสังคม 1
ความสามารถในการเป็นผู้นำกิจกรรมดนตรี ผู้เรียนจะมีโอกาสในการนำกิจกรรมทั้งลักษณะกลุ่มและรายบุคคลเพื่อพัฒนาทักษะในการสื่อสาร
ความสามารถวางแผนงานและการเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายหรือชุมชนเป้าหมาย การดำเนินกิจกรรมควรให้กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มชนมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในความต้องการที่สอดคล้องกับกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม
การประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ผู้เรียนแสดงให้เห็นถึงการคิดวิเคราะห์ที่มีความลึกซึ้งในการประเมินผลการดำเนินงานมากกว่าดนตรีเพื่อประชาสังคม 1
บทสรุป
รายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 มีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการในการใช้โครงงานเป็นฐาน การเรียนรู้แบบพีระมิดจะทำให้นักศึกษาสามารถมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม และแนวทางในการประเมินผลผู้เรียนตามแนวทางของการศึกษาดนตรีชุมชน การจัดการเรียนรู้เคมบริดจ์ ที่ควรอยู่ในระดับดีและสามารถพัฒนาความคิดในการดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมต่อได้
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Armstrong, P. (2010). Bloom’s Taxonomy. Vanderbilt University Center for Teaching. Retrieve
14 Feb 2020 from https://cft.vanderbilt.edu/guides-sub-pages/blooms-taxonomy/
OCR. (2020, Jan 18). Music in the Community: OCR level 3 Cambridge technical in performing
arts. From Oxford Cambridge and RSA: https://www.ocr.org.uk/Images/141422-music-in-the-community.pdf
Book2: Week 01: Text
bottom of page