top of page
จับภาพหน้าจอ 2564-04-23 เวลา 02.54.06.pn

Week 02:
Concept and Theory and Concept of Group class pedagogy

สัปดาห์ที่ 02

หัวข้อเรื่อง:       

ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่ม: โซลทาน โคดาย


Concept and Theory and Concept of Group class pedagogy: Zoltán Kodály

รายละเอียด:     

การบรรยายด้านทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่มจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายหรือชุมชนในพื้นที่ศึกษา นำไปสู่การแบ่งปันดนตรีในฐานะเครื่องมือเยียวยาจิตใจของมนุษย์ โดยในสัปดาห์นี้จะบรรยายและสาธิตตามแนวคิดของ โซลทาน โคดาย

Book2: Week 02: Welcome

รายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ออกแบบกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม ในลักษณะของการจัดการเรียนการสอนทั้งกลุ่มและเดี่ยวในการเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มชุมชนที่เป็นนักเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือประชาชนทั่วไปขึ้นอยู่กับบริบทความต้องการในเวลานั้น ๆ
ทั้งนี้ผู้เรียนควรมีความเข้าใจกลวิธีในการสอนกลุ่มเพื่อจะได้นำไปปรับใช้ในการออกแบบกิจกรรมดนตรีดังกล่าวเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน ในฐานะที่ดนตรีเป็นเครื่องมือที่เยียวยาจิตใจของมนุษย์ ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่ม โดยจะชี้ให้เห็นกระบวนวิธีคิดของคีตกวีและศิลปินในการออกแบบกระบวนวิธีในการจัดการเรียนการสอนดนตรี ประกอบด้วย โซลทาน โคดาย (Zoltán Kodály, 1882 - 1967) และดร.ชินอิจิ ซูซูกิ (Shinichi Suzuki, 1898 – 1998) โดยในสัปดาห์นี้จะบรรยายและสาธิตในชั้นเรียนตามแนวคิดของ โซลทาน โคดาย ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

ทฤษฎีและแนวคิดกลวิธีการสอนกลุ่ม โซลทาน​ โคดาย

นักประพันธ์เพลง นักประวัติศาสตร์ดนตรี และนักการศึกษาดนตรีชาวฮังการีโคดายมีแนวคิดที่ว่า ถ้าหากให้เยาวชนมีประสบการณ์ทางด้านดนตรีต้องมีการจัดระเบียบการเรียนการสอนในระบบให้ดีด้วยนั้น (Kuiper, 2021) เนื่องจากดนตรีส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคน ดนตรีจึงสามารถพัฒนาศักยภาพเยาวชนได้โดยจะต้องพัฒนาดนตรีให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด โดดายได้กล่าวไว้ในการบรรยายในชั้นเรียนขับร้องประสานเสียงเมื่อปี 1929 โดยสรุปว่าการสอนดนตรีและการขับร้องในโรงเรียนด้วยวิธีที่ไม่เป็นการไม่ทรมาน แต่ต้องเป็นความสุขสำหรับนักเรียน การปลูกฝังประสบการณ์ทางดนตรีที่ดีนั้นดนตรีจะยังคงอยู่ไปตลอดชีวิต หากเยาวชนไม่ได้รับการเต็มเติมจากดนตรีอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งในชีวิตดังในช่วงวัยเยาว์ในช่วงอายุหกถึงสิบหกปีมันแทบจะไม่มีประโยชน์อย่างใดเลยในภายหลัง บ่อยครั้งที่ประสบการณ์ทางดนตรีเพียงครั้งเดียวอาจเปิดจิตวิญญาณของเยาวชนกับดนตรีไปตลอดชีวิต ประสบการณ์นี้ไม่สามารถปล่อยให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่ทำเท่านั้น
(Iris & Estelle, 2020) รูปที่ 4

Book2: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-23 เวลา 02.54.06.pn
Book2: Week 02: Image

โคดาย มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนดนตรีให้กับเยาวชน โดยแนวคิดหลักที่สำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ (รูปที่ 5)

Book2: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-23 เวลา 02.56.06.pn
Book2: Week 02: Image
  1. ดนตรีควรถูกสอนต้องแต่ยังวัยเยาว์ โดดายเชื่อว่าเป็นหนึ่งในวิชาที่สำคัญที่สุดที่จะสอนในโรงเรียน

  2. ดนตรีควรถูกสอนอย่างมีตรรกะเหตุผลและความต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอน

  3. ควรมีความสุขในการเรียนดนตรีและไม่ควรเรียนอย่างทรมาน

  4. เสียงร้องเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด

  5. องค์ประกอบทางดนตรีได้รับการสอนในบริบทของเพลงพื้นบ้านที่เป็นภาษาแม่  


กลวิธีที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์ดนตรีให้กับเยาวชนมีหลากหลายชุด 5 กลวิธีที่สำคัญที่เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม (MasterClass, 2021)ดังต่อไปนี้

  1. เรียนรู้ผ่านการร้อง (learning by singing) ตามที่โคดายเชื่อว่าการร้องเป็นพื้นฐานในการฝึกฝนดนตรีที่สำคัญ ผู้เรียนควรได้รับความรู้ทางดนตรีจาการฝึกขับร้องโซลเฟจ (solfège)

  2. สัญลักษณ์มือ (hand sign) สัญญาณมือสามารถเสริมการพัฒนาการฝึกขับร้องโซลเฟจ

  3. ความสามารถในการเข้าจังหวะ (rhythmic proficiency) การอ่านรูปแบบจังหวะ โน้ตดนตรีในรูปแบบต่าง ๆ ควรสอดแทรกไปยังกับการฝึกขับร้องโซลเฟจ

  4. การทำงานร่วมกัน (collaboration) โคดายเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันมีความสำคัญต่อการศึกษาด้านดนตรี ทั้งการร้องเพลง การประสานเสียง ปรบมือเข้าจังหวะรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการบรรเลงดนตรี

  5. การเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม (cultural connection) ผู้สอนดนตรีควรเน้นดนตรีพื้นบ้านในภาษาแม่หรือภาษาถื่นเพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับดนตรี

หากถามว่าการสอนแบบไหนดีที่สุดนั้น มีปัจจัยหลายอย่างประกอบกันกับการเรียนการสอนนั้น ได้แก่ วัตถุประสงค์ ผู้เรียน เนื้อหา และผู้สอน เพราะฉะนั้นคำตอบที่ดีในการจัดการเรียนการสอนประการหนึ่งคือ ผู้เรียนได้สอนผู้เรียนคนอื่น น่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการเรียนรู้ร่วมกัน อย่างไรก็ตามมีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบเพื่อนสอนเพื่อนหรือผู้เรียนสอนผู้เรียนด้วยกันเองมีประสิทธิผลอย่างยิ่งสำหรับการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในเนื้อหานั้น ๆ ได้

บทสรุป

จากทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่มของ โซลทาน โคดาย มีการเชื่อมโยงกับประชาสังคมด้วยภาษาแม่ ผ่านการร้อง สัญลักษณ์มือ การเข้าจังหวะ การทำงานร่วมกัน และเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม สามารถนำไปประยุกต์และพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ในงานดนตรีเพื่อประชาสังคมตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนได้

กิจกรรมในชั้นเรียน

  • สาธิตการใช้สัญลักษณ์มือตามทฤษฎีและแนวคิดของโคดาย

Book2: Week 02: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-23 เวลา 02.54.54.pn
Book2: Week 02: Image
  • สาธิตการประยุกต์ใช้สัญลักษณ์มือของโคดายแบ่งผู้เรียนเป็นสองกลุ่มโดยกลุ่มหนึ่งให้ดูสัญลักษณ์ทางมือซ้าย และอีกกลุ่มหนึ่งให้ดูสัญลักษณ์ทางมือขวา ทำให้เกิดเสียงประสาน

  • ให้ผู้เรียนลองนำกิจกรรมดังกล่าว โดยคำนึงถึงการเรียบเรียงในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งคู่เสียงกลมกล่อมและเสียงกระด้าง

  • สลับหมุนเวียนให้ออกมานำกิจกรรมดังกล่าวตามเวลาที่เหมาะสม

  • อาจให้ผู้เรียนในชั้นเรียนลองใช้คีตปฏิภาณ (improvisation) ในการบรรเลงร่วมกับวงขับร้องที่ดำเนินด้วยการใช้สัญลักษณ์โคดาย เพื่อเพิ่มอรรถรสและแนวทางในการประยุกต์ใช้ความรู้

เอกสารอ้างอิง

Iris, Y. M., & Estelle, J. R. (2020). Humane Music Education for the Common Good. Indiana University Press. Retrieved Feb Jan 2019, from www.jstor.org/stable/j.ctvxcrxmm.: doi:10.2307/j.ctvxcrxmm

Kuiper, K. (2021, March 2). Zoltán Kodály. Retrieved from Britannica: https://www.britannica.com/biography/Zoltan-Kodaly

MasterClass. (2021, Apr 15). Kodály Method Guide: 5 Principles of the Kodály Method. Retrieved from www.masterclass.com: https://www.masterclass.com/articles/kodaly-method-guide#what-is-the-kodly-method

Book2: Week 02: Text
bottom of page