top of page
Week 03: Concept and Theory and Concept of Group class pedagogy
สัปดาห์ที่ 03
หัวข้อเรื่อง:
ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่ม: ชินอิจิ ซูซูกิ
Concept and Theory and Concept of Group class pedagogy: Shinichi Sizuki
รายละเอียด:
การบรรยายด้านทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่มจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายหรือชุมชนในพื้นที่ศึกษา นำไปสู่การแบ่งปันดนตรีในฐานะเครื่องมือเยียวยาจิตใจของมนุษย์ โดยในสัปดาห์นี้จะบรรยายและสาธิตตามแนวคิดของ ดร.ชินอิจิ ซูซูกิ
Book2: Week 03: Welcome
เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีและแนวคิดการทำงานลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่มจากกรณีศึกษา โซลทาล โคดายไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาในสัปดาห์นี้จะบรรยายอีกหนึ่งตัวอย่างพร้อมกับการสาธิตกรณีศึกษาของ ดร.ชินอิจิ ซูซูกิ (Shinichi Suzuki, 1898 – 1998) เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตัวอย่างในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนที่ศึกษาในงานดนตรีเพื่อประชาสังคม โดยมีความเชื่อมโยงกับกลวิธีการสอนกลุ่มแบบโคดายดังแนวคิดเปิดโลกแห่งความงามและประสบการณ์ทางดนตรีให้แก่เยาวชน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
ทฤษฎีและแนวคิดกลวิธีการสอนกลุ่ม ชินอิจิ ซูซูกิ
ซูซูกิ นักปรัชญาและนักการศึกษาแนวติดในการเรียนดนตรีวิธีซูซูกิที่นิยมอย่างแพร่หลายในโลกปัจจุบันบนพื้นฐานทฤษฎีและแนวคิดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเยาวชนในลักษระเดียวกันกับโคดายผ่านการเรียนรู้ดนตรีจากภาษาแม่ โดยซูซูกิได้พัฒนาปรัชญาการเรียนการสอนดนตรีจากการดำเนินชีวิตมีจุดมุ่งหมายหลักในการเปิดโลกแห่งความงามทางดนตรีให้กับเยาวชนได้มีความสุขจากเสียงดนตรี (Hermann, 1971) การเรียนดนตรีไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก ซูซูกิต้องการสร้างพลเมืองที่มีคุณค่าหากเยาวชนได้ยินเสียงดนตรีที่ดีตั้งแต่แรกเกิดแล้วก็จะสามารถพัฒนาการรับรู้พฤติกกรมและความอดทนอดกลั้นภายในจิตใจที่ดีงาม (รูปที่ 6, รูปที่ 7)
Book2: Week 03: Text
Book2: Week 03: Image
Book2: Week 03: Image
ซูซูกิ มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนดนตรีให้กับเยาวชนในการใช้ “ภาษาแม่” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสร้างการรับรู้ทางภาษา ผู้เขียนสามารถวิเคราะห์วิธีการออกมาได้ 5 ประการ โดยแนวคิดหลักที่สำคัญ 5 ประการ ดังรูปที่ 8 ประกอบด้วย
Book2: Week 03: Text
Book2: Week 03: Image
การฟัง (listening)
ความรักและกำลังใจ (loving encouragement)
การให้การสนับสนุนจากผู้ปกครอง (parental support)
การทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง (constant repetition)
การเรียนรู้กับคนอื่น (learning with other children)
จากการศึกษาพบว่า แนวทางในการจัดการเรียนการสอนดนตรีของซูซูกินั้นเยาวชนสามารถเรียนรู้และเข้าใจภาษาของตนเองได้เป็นอย่างดีและเชื่อว่าเยาวชนสามรถเรียนรู้และเชี่ยวชาญดนตรี ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นพรสวรรค์ศึกษา (talent education) ก็ได้หมายความว่าพรสวรรค์สามารถสร้างได้เพราะไม่ได้มาแต่กำเนิดเยาวชนสามารถพัฒนาได้ทุกคนแม้แต่เยาวชนที่มีความพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนในลักษณะกลุ่มเช่นไวโอลิน เชลโล ฯ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนดนตรีของซูซูกิประสบความสำเร็จอย่างมากในกระบวนวิธีการสอน สิ่งเหล่านี้ซูซูกิเรียกว่าปรัชญาในการศึกษาไม่ใช่วิธีการเพราะฉะนั้นครูผู้สอนต้องคิดค้นวิธีการของตนเองได้
เพราะฉะนั้นแล้วในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคมจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุผลตามความต้องการของกลุ่มของการดำเนินกิจกรรม อาจต้องเริ่มด้วยการใช้คำถามที่มีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานดนตรีเพื่อประชาสังคม
บทสรุป
จากทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีการสอนกลุ่มของ ดร.ชินอิจิ ซูซูกิมีการเชื่อมโยงกับประชาสังคมด้วยภาษาแม่เหมือนกับโคดาย ผ่านการฟัง ความรักและกำลังใจในการฝึกฝนดนตรี การได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย การทำซ้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อฝึกความชำนาญ และการที่จะเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียนคนอื่น สิ่งเหล่านี้สามารถนำเป็นฐานคิดในการออกแบบกิจกรรมให้กับงานดนตรีเพื่อประชาสังคมกับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนได้เป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิง
Hermann, E. (1971). Shinichi Suzuki: A man and his music. Alfred Music.
Suzuki, S. (1978). Violin Volume 1. Miami, Florida: Warner Bros.
Book2: Week 03: Text
bottom of page