top of page
ภาคสนาม.jpg

Week 06-09: Fieldwork 1 - 4

สัปดาห์ที่ 06-09

หัวข้อเรื่อง:       

งานกลุ่มภาคสนาม 1 - 4

Fieldwork 1 - 4


รายละเอียด:     

การปฏิบัติภาคสนามจากโครงร่างงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 การปฏิบัติที่ใช้กระบวนวิธีทางดนตรีประยุกต์ให้เข้ากับบริบทและความต้องการข้องชุมชนโดยใช้องค์ความรู้จากทฤษฎีและแนวคิดการทำงานในลักษณะของกลวิธีในการสอนกลุ่ม ที่แตกต่างจากรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 1กิจกรรมเป็นการปฏิบัติภาคสนามตามบริบทกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนที่ได้ตกลงไว้ การจดบันทึกการทำงาน และการประเมินและวัดผลตามลำดับ

Book2: Week 06-09: Welcome

ภาคสนาม

โครงสร้างในพื้นที่ภาคสนาม (field) ที่ช่วยให้สร้างกรอบความคิดและขอบเขตในการพัฒนางานจากข้อมูลภาคสนามจากการที่ได้สัมผัสอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมชุมชนเชิงลึกผ่านดนตรีกลายมาเป็นนิยามความหมายจากการทำงานกับชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติจริงอยู่ในพื้นที่ศึกษา (Kisliuk, 2008) ในงานภาคสนามของดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 เพื่อสร้างกิจกรรมทางดนตรีให้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนจากที่ผู้เรียนได้ออกแบบจากการประยุกต์ทฤษฎีและแนวคิดการสอนกลุ่ม โดยในดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 นี้ได้บูรณาการความรู้จากดนตรีวิทยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกลวิธีการสอน ในด้านการสำหรับการออกแบบกิจกรรมทางดนตรีเพื่อประชาสังคม จากทักษะที่ผู้เรียนได้ศึกษาในรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 ซึ่งเป็นการศึกษาในภาพรวม (Merriam, 1969) โดยมีทักษะที่สำคัญประกอบไปด้วย

  1. ทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม (communication skill)

  2. ทักษะความเป็นนักดนตรี (performing musicianship)

  3. ทักษะจากการศึกษาค้นคว้าและการจัดเก็บข้อมูล (data collection) และ

  4. ทักษะการวิเคราะห์และประเมินผล (analysis) นั้น

Book2: Week 06-09: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-23 เวลา 02.58.02.pn
Book2: Week 06-09: Image

จากรูปที่  11 แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงในภาพรวมของทักษะในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม  โดยมีเป็นจุดเริ่มต้นจากดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนในรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะให้มีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยจะแสดงให้เห็นถึงแนวคิดและการบูรณาการความรู้ดนตรีจากการประยุกต์ทฤษฎีและแนวคิดการสอนกลุ่มในภาคปฏิบัติ (OCR, 2020) ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนได้มีโอกาสในการคิดวิเคราะห์จากความรู้ทางดนตรีวิทยาด้านกลวิธีการสอนนำมาประยุกต์ใช้กับงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 และพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นให้มีความลึกซึ้งในการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนได้เป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการคิดวิเคราะห์ให้มีความลึกซึ้งและสามารถตอบวัตถุประสงค์การดำเนินงานได้ชัดมากขึ้นกว่าดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 ดังรูปที่ 12

Book2: Week 06-09: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-23 เวลา 02.58.22.pn
Book2: Week 06-09: Image

จากรูปที่ 12 แสดงให้เห็นถึงการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 ในการบูรณาการความรู้ทางดนตรีวิทยาด้านกลวิธีการสอนกลุ่มมาใช้ผสมผสานกับทักษะดนตรีเพื่อประชาสังคมทั้ง 4 ด้านโดยจะทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างกรอบคิดในการปฏิบัติงานดนตรีเพื่อประชาสังคมได้ลึกซึ้งมากขึ้นโดยพัฒนาการดำเนินกิจกรรมจากงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 1

การจัดเก็บข้อมูลงานด้านกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 2

การบันทึกภาพถ่ายและวิดีโอ

การถ่ายภาพและการถ่ายวิดีโอเป็นการเก็บรวบรวมขึ้นมูลในเชิงประจักษ์ (explicit evidence) ในการบันทึกเรื่องราวขณะลงปฏิบัติการภาคสนามหรือการนำข้อมูลกลับมาสรุปผล โดยในดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 ควรมีหลักฐานภาพถ่ายและวิดีโอที่ชี้ให้เห็นถึงการเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีและแนวคิดทางด้านกลวิธีการสอนกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการในการดำเนินกิจกรรม

การจดบันทึกในลักษณะวันต่อวัน

การจดบันทึกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะการทำงานที่เป็นวันต่อวันสามารถใช้อภิปรายผลของการดำเนินงานได้เป็นหลักฐานในการออกภาคสนามซึ่งเป็นผลจากการลงมือทำและจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ดำเนินกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาได้ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาในขณะปฏิบัติภาคสนาม รวมถึงข้อเสนอแนะในการลงปฏิบัติภาคสนามในวันต่อไปได้

Book2: Week 06-09: Text

การวิเคราะห์ผลจากการทำงานภาคสนามดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 

เชิงคุณภาพ

  1. นำผลการจดบันทึกแบบวันต่อวันมาประมวลผลร่วมกันของกลุ่มผู้เรียนโดย

    1. วิเคราะห์ / สรุปผลทีละประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโดยการอภิปรายกลุ่ม

    2. วิเคราะห์ / สรุปผลในภาพรวมโดยการอภิปรายกลุ่ม

  2. การสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มชุมชน

    1. การสร้างชุดคำถามที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การดำเนินกิจกรรม

    2. สรุปข้อมูลจากการให้สัมภาษณ์ในลักษณะของงานเขียนหรือวิดีโอ

            การสรุปผลในเชิงคุณภาพลักษณะนี้เมื่อกลุ่มผู้เรียนจะทำให้ลดอคติในการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษาจาก 1. กลุ่มผู้ดำเนินกิจกรรมทางดนตรีเพื่อประชาสังคม และ 2. กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มชุมชน โดยจำทำให้ผลลัพธ์จะมีความเที่ยงตรงมากขึ้น

เชิงปริมาณ

            ใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการดำเนินกิจกรรมในภาพรวม โดยผู้สอนออกแบบเครื่องมือในการวัดและประเมินผลทางสถิติ ประมวลผลโดยใช้เครื่องมือวัดระดับลิเคิร์ท (Likert scale) กำหนดการให้คะแนนเกี่ยวกับระดับความเห็น โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่าโดยใช้มาตราวัด 5 ระดับจากน้อยไปมาก ดังนี้

  • 1 คะแนน หมายถึง เห็นด้วยน้อยที่สุด

  • 2 คะแนน หมายถึง เห็นด้วยน้อย

  • 3 คะแนน หมายถึง เห็นด้วยปานกลาง

  • 4 คะแนน หมายถึง เห็นด้วยมาก

  • 5 คะแนน หมายถึง เห็นด้วยมากที่สุด


โดยมีหัวข้อในการวัดและประเมินใช้วัดใน 5 ประเด็นประกอบด้วย

  • ความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมดนตรี

  • เพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านดนตรี

  • กิจกรรมมีประโยชน์

  • ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม

  • ภาพรวมของการดำเนินกิจกรรม

กรรมการและเกณฑ์การให้คะแนนการปฏิบัติภาคสนามดนตรีเพื่อประชาสังคม 2

กรรมการ

กรรมการพิจารณาผลการนำเสนอผลงานกลุ่มหลังปฏิบัติการภาคสนามดนตรีเพื่อประชาสังคมควรมีอย่างน้อย 2 คน โดยมีความรู้ความสามารถในด้านดนตรีและมีประสบการณ์การทำงานด้านดนตรีเพื่อประชาสังคม จะทำให้ลดอคติในการพิจารณาผลคะแนนของนักศึกษา


เกณฑ์วัดและประเมินผล

จากผลลัพธ์การเรียนรู้ในด้านการประเมินผลตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนของเคมบริดจ์ในสาขาดนตรีชุมชน (OCR, 2020) การที่ผู้เรียนสามารถผลิตผลงานดนตรีเพื่อประชาสังคมดังเช่นการจัดการนำเสนอผลงานต่อหน้าสาธารณชนนั้นถือได้ว่าผู้เรียนมีศักยภาพในการประมวลความรู้จากการดำเนินกิจกรรมได้เป็นอย่างดีซึ่งอยู่ในขั้น “ดีมาก” อยู่ในระดับดีมากและสามารถพัฒนาต่อได้ (merit) ผู้สอนจึงมีวิธีการประเมินผลการนำเสนอการปฏิบัติภาคสนามดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 คะแนนเต็ม 60 คะแนน ดังต่อไปนี้

  1. ความรู้ความเข้าใจการบริบทของวัฒนธรรมชุมชนและกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา โดยผู้เรียนสามารถพัฒนาความคิดในการจัดกิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนนั้นที่มีความลึกซึ้งทางความคิดมากกว่าดนตรีเพื่อประชาสังคม 1  

  2. ความสามารถในการเป็นผู้นำกิจกรรมดนตรี ผู้เรียนจะมีโอกาสในการนำกิจกรรมทั้งลักษณะกลุ่มและรายบุคคลเพื่อพัฒนาทักษะในการสื่อสาร

  3. ความสามารถวางแผนงานและการเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายหรือชุมชนเป้าหมาย การดำเนินกิจกรรมควรให้กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มชนมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในความต้องการที่สอดคล้องกับกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม

  4. การประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ผู้เรียนแสดงให้เห็นถึงการคิดวิเคราะห์ที่มีความลึกซึ้งในการประเมินผลการดำเนินงานมากกว่าดนตรีเพื่อประชาสังคม 1

  5. ความน่าสนใจของกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมในภาพรวม เพื่อให้ผู้เรียนแสดงให้เห็นถึงการออกแบบกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมมีส่วนทำให้กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนมีความน่าสนใจ สนุกสนาน และได้สาระจากการดำเนินกิจกรรม

Book2: Week 06-09: Text

บทสรุป

ในงานภาคสนามของงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 2 ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจจากทฤษฎีและแนวคิดในกลวิธีการสอนดนตรีในลักษณะกลุ่มเป็นฐานคิดให้เกิดการออกแบบและปฏิบัติได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานดนตรีเพื่อประชาสังคม ที่ขยายจากทักษะในดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 ประกอบด้วยทักษะ 4 อย่างที่สำคัญ คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะความเป็นนักดนตรี ทักษะในการจัดเก็บข้อมูล และทักษะในการวิเคราะห์และสรุปผล เพราะฉะนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านผลลัพธ์เชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนในพื้นที่โดยจะทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ผลการดำเนินงานได้ดีและลึกซึ้งมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Merriam, A. P. (1969). Field Techniques in Ethnomusicology: The Basongye (Republic of the

Congo). JSTOR, 13(2), 213-229. From doi:10.2307/850146

OCR. (2020, Jan 18). Music in the Community: OCR level 3 Cambridge technical in performing

 arts. From Oxford Cambridge and RSA:

https://www.ocr.org.uk/Images/141422-music-in-the-community.pdf

"เครื่องมือ / เกณฑ์การประเมินและวัดผล ท่านสามารถอีเมล์มาสอบถามยังผู้เขียนได้ที่ suppabhorn@pgvim.ac.th"

Book2: Week 06-09: Text
bottom of page