top of page
Week 04-05:
Surveys Music for Society Activities
สัปดาห์ที่ 04-05
หัวข้อเรื่อง:
สำรวจกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมกรณีศึกษาในประเทศไทย
Surveys Music for Society Activities: Case study in Thailand
รายละเอียด:
สำรวจกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม กรณีศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเกิดจากความตระหนักรู้ในการนำความรู้ดนตรีไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาสังคม เพื่อเป็นตัวอย่างกิจกรรมทางดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์และความต้องการของประชาสังคม และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรมในภาคการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
Week 04-05: Welcome
กิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม กรณีศึกษาในประเทศไทย จะมุ่งศึกษางานผู้เขียนที่ได้มีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติ (practice) จริงทั้งในลักษณะที่เป็นงานรับผิดชอบโดยตรงและทางอ้อมที่ร่วมดำเนินกิจกรรม โดยมีแนวทางปฏิบัติในแต่ละกิจกรรมที่แตกต่างกันไปตามความต้องการของชุมชน สังคม และบริบทในแต่ละช่วงเวลา จะนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่านักดนตรีสามารถใช้ความรู้ทางดนตรีในการพัฒนาและสร้างสรรค์กิจกรรมทางด้านดนตรีเพื่อประชาสังคมได้ ดังต่อไปนี้
กรณีศึกษาในประเทศไทย
น้ำมา...เดี๋ยวก็ไป Flood Forward
ในช่วงวิกฤตน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2554 เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนได้ผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ได้เปิดศูนย์พักพิงแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ดำริของรองศาสตราจารย์ ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล อดีตรองอธิการบดีในช่วงเวลานั้น จึงได้นำดนตรีไปช่วยปลอบขวัญและเป็นกำลังใจให้ผู้คนที่ศูนย์พักพิง ซึ่งนำไปสู่มิติแห่งการให้และรับความสุขแก่กันและกัน ผ่านกิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์และการแสดงดนตรีเพื่อประโลมจิตใจให้พร้อมสู้อีกครั้งหลังช่วงเวลาของวิกฤต โดยผู้เขียนเป็น
ผู้ประสานงานและดำเนินกิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์เพื่อประชาสังคม และได้รับการทุนสนับสนุนจากหลายภาคส่วนได้แก่ สสส. มูลนิธิเด็ก และมหาวิทยาลัยศิลปากร (ศุภพร, 2554) โดยสามารถสรุปกิจกรรมพอสังเขปได้ดังนี้
Week 04-05: Text
แนวคิด กิจกรรม และผลลัพธ์
ระยะเวลาในการดำเนินการ: 14 วัน
แนวคิด
เยียวยาและฟื้นฟูจิตใจผู้คนในศูนย์พักพิงให้มีกำลังใจที่พร้อมจะต่อสู้กับความจริงหลังวิกฤตน้ำท่วม
กิจกรรมสร้างสรรค์ดนตรีเพื่อประชาสังคมกับเยาวชนในศูนย์พักพิง
กิจกรรม
การแสดงดนตรีอย่างต่อเนื่องให้กับศูนย์พักพิง
การให้ผู้อพยพในศูนย์มีโอกาสได้รื่นเริง และร่วมกิจกรรมดนตรี
การวางแผน/ออกแบบดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมให้กับเยาวชนเหตุเพราะเยาวชนไม่สามารถไปเรียนหนังสือได้ตามปกติ
กิจกรรมประพันธ์เพลงโดยเยาวชนเพื่อให้กำลังใจกับผู้ปกครองและผู้อพยพในศูนย์พักพิง จากเรื่องราวของชีวิตประจำวันที่เป็นปกติ/ช่วงวิกฤต/ความหวังหลังวิกฤต ฯ
กิจกรรมอื่น ๆ เช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์อื่น ๆ
การนำเสนอผลงานของเยาวชนในศูนย์พักพิง ในลักษณะของการแสดงคอนเสิร์ต
ผลลัพธ์
การแบ่งปันความรู้สึกของผู้คนในศูนย์พักพิงที่นำไปสู่การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
เยาวชนในศูนย์พักพิงได้เรียนรู้และใช้เวลาอย่างมีประโยชน์ในลักษณะของการเรียนรู้นอกห้องเรียน
Week 04-05: Text
Week 04-05: Image
Week 04-05: Image
ขบวนการนกกางเขน Rossignols en Cage
ขบวนการนกกางเขน พระราชนิพนธ์แปลของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีเนื้อเรื่องโดยสังเขปกล่าวคือ วรรณกรรมเยาวชนเล่มในช่วงยุค 1960 นี้ สะท้อนร่องรอยผลสะเทือนจากสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ. 1945 สงครามที่กินเวลายาวนานถึง 6 ปี คร่าชีวิตมนุษย์ทั้งทหารและพลเรือนเป็นจำนวน 60-80 ล้านคน เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนขั้วใหม่ ในการเมืองโลก คนรุ่นใหม่กำลังจะเติบโตขึ้น และสร้างอนาคตที่แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อน เจ้าชายตัวน้อยที่ครอบครัวต้องออกนอกประเทศเพราะการปฏิวัติ กลับปลาบปลื้มกับเด็กหญิงที่ไม่ยอมรับว่าโลกนี้มีเจ้าชาย ส่วนเด็กต่างชาติที่ยากจนขัดสนที่สุดในกลุ่ม กลับกลายเป็นวีรบุรุษของเพื่อน ๆ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาได้นำมาทำเป็นอุปรากรเยาวชน โดยเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นถึงมิตรภาพของเยาวชนที่แม้มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ฐานะ แต่ยังสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมัครสมานสามัคคี เสียสละ โดยในรอบปฐมฤกษ์ได้แสดงต่อหน้าพระพักต์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เมื่อปี พ.ศ. 2558 (สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, 2558)
กำกับการแสดงโดยอาจารย์รัศมี เผ่าเหลืองทอง
อำนวยการศิลป์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อโณทัย นิติพน
อำนวยเพลงโดย อาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ
นักแสดงนำ เยาวชนในชุมชนบางยี่ขันที่ได้รับการคัดเลือก
บรรเลงดนตรีโดย วงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (PYO)
Week 04-05: Text
Week 04-05: Image
แนวคิด
1. การคัดเลือกเยาวชนในพื้นที่บางยี่ขันที่เป็นที่ตั้งของสถาบันฯ เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีโอกาสได้ทำงานดนตรี ศิลปะ และการละคร ในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์
2. การผสมผสานการดำเนินงานมีหลายส่วนงานที่จะผสมผสานให้ออกมาเป็นอุปรากรเยาวชน
3. การแสดงสู่สาธารณะรวมถึงผู้คนในชุมชนบางยี่ขัน
กิจกรรม
1. การอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมด้านการแสดงในรูปแบบต่าง ๆ
2. การประพันธ์เพลงตามลักษณะของตัวละครแต่ละตัวโดยนักแสดง
3. การฝึกซ้อมด้านดนตรีของนักแสดง และวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
ผลลัพธ์
1. การแสดงอุปรากรเยาวชนในหลายรูปแบบ
a. ลักษณะอุปรากรเยาวชน
b. ลักษณะของการลดขนาดเพื่อแสดงในชุมชน
c. ลักษณะของการ Re-stage ในลักษณะของการแสดงคอนเสิร์ตแบบออร์เคสตรา
2. เยาวชนได้มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในการอบรมเชิงปฏิบัติการทำให้เยาวชนมีสมาธิมากขึ้น ทั้งนี้หลังจากกิจกรรมได้เสร็จสิ้นไป พบว่า เยาวชนมีผลการเรียนที่ดียิ่งขึ้น เป็นต้น
Week 04-05: Text
อักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ค่ายดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์
ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ในความร่วมมือของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา โดยผู้เขียนได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้อำนวยการศิลป์ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2563 โดยได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ณ บ้านแม่ออกฮู ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ได้รับทุนสนับสนุนหลักจากมูลนิธิมหาจักรีสิรินธรเพื่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่เข้าร่วม
กิจกรรมค่าย ฯ ได้พัฒนารูปแบบการทำงานที่มีความชัดเจนตั้งแต่ปีที่ 1 - 3 โดยแสดงให้เห็นถึงความสุกงอมของการดำเนินกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาเริ่มเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ในด้านของการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน โรงเรียนและคณะอาสาสมัครอักษร - ศิลป์ ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีสาระสำคัญจากวัฒนธรรมพื้นบ้านทำให้เกิดความเข้าอกเข้าใจระหว่างชุมชนและอาสาสมัคร
ข้อมูลเพิ่มเติม www.pgvim.ac.th/aksornsilpa
Week 04-05: Text
Week 04-05: Image
แนวคิด
ปีที่ 1 โดยมีกิจกรรมหลักที่เป็นหัวใจในการดำเนินงานค่ายแบบการทำงานอย่างมีส่วน (ศุภพร, 2560)
ปีที่ 2 ค่ายอาสาพัฒนาทางด้านการจัดกิจกรรมดนตรี และศิลปะสร้างสรรค์แบบผู้คนในชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนบ้านแม่ออกฮู ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มุ่งเน้นในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์แก่นิสิตนักศึกษาในการทำงานเป็นอาสาสมัคร ซึ่งนำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมค่ายอาสาดนตรี ศิลปะ และภาษา (ศุภพร, ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 กิจกรรมดนตรีและศิลปะแบบ (คน) มีส่วนร่วม สู่ความเข้าใจ (คน) ในชุมชน, 2561)
ปีที่ 3 มุ่งเน้นดังประเด็นต่อไปนี้
1) การสร้างกลุ่มพี่เลี้ยงจาก ศิษย์เก่าค่าย ฯ รุ่นที่หนึ่งและสอง โดยเปิดพื้นที่ให้อาสาสมัครได้มีโอกาสปฏิบัติการ ในสภาพแวดล้อมจริง
2) พัฒนาผู้นำเยาวชนท้องถิ่นโดยร่วมฝึกฝนการทำงาน กับคณาจารย์และนิสิตนักศึกษาอาสาสมัคร
3) การหารือความต้องการของชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (ศุภพร, แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ปีท่ี 3, 2563)
Week 04-05: Text
Week 04-05: Image
กิจกรรม
ปีที่ 1
ปรับปรุงฝาผนังห้องเรียนสำหรับเด็กอนุบาล เพื่อเสริมสร้างจินตนาการผ่านรูปสัตว์ และตัวหนังสือภาษาอังกฤษ ฯ
ปรับปรุงรูปแบบหมวดหนังสือเป็นแบบสี และสื่อการสอนที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียนระดับประถมศึกษา
กิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์ พัฒนาการสื่อสารจากวัฒนธรรมพื้นถิ่นผ่านการประพันธ์เพลงโดยนักเรียนในโรงเรียน
การนำเสนอผลงาน
ปีที่ 2
กิจกรรมดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์แบบผู้คนในชุมชนมีส่วนร่วม
นำร่องการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ปีที่ 3
การสร้างกลุ่มพี่เลี้ยงจากศิษย์เก่าค่าย ฯ รุ่นที่หนึ่งและสอง
พัฒนาผู้นำเยาวชนท้องถิ่น
การหารือความต้องการของชุมชน
ผลลัพธ์
ผลการดำเนินงานเป็นเวลาสามปีชี้ให้เห็นถึงการเรียนรู้ในสองมุมมองได้แก่ เยาวชนในพื้นที่และชุมชนได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมของค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้องฯ และนิสิตนักศึกษาอาสาสมัครได้เรียนรู้ถึงความเข้าอกเข้าใจและวัฒนธรรมพื้นบ้านพร้อมกับการเรียนรู้คุณค่าความเป็นมนุษย์จากการดำเนินงานของอาสาสมัคร (Suwanpakdee & Poktihitiyuk, 2018) โดยใช้ทักษะที่ตนเองมีก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและสังคม
กิจกรรมในรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคมที่ผ่านมา
5th Year Anniversary of PGVIM
การแสดงในวันครบรอบ 5 ปีแห่งการสถาปนาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. 2560 ได้จัดกิจกรรมการแสดงละครดนตรีเยาวชน จำนวน 6 เรื่อง จากแรงบันดาลใจจากหนังสือ นิทานสำหรับเด็ก ทรงแปลและเรียบเรียงของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2475 (เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ, 2006) เพื่อน้อมรำลึกถึงคุณูปการที่ทรงอุปถัมภ์วงการดนตรีคลาสสิกในประเทศไทย อีกทั้งกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมแสดงให้เห็นถึงปณิธานของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาในการเป็นผู้สร้างสรรค์สังคมด้วยดนตรี ที่มิเพียงแต่ส่งเสริมดนตรีที่มีความหรูหรา อลังการ แต่ยังรวมไปถึงดนตรีที่อยู่ในจิตใจ ของผู้คน เพื่อที่เมื่อเสียงของดนตรี เดินทางจากผู้รังสรรค์ ไปสู่การรับรู้ของผู้ฟัง
Week 04-05: Text
Week 04-05: Image
แนวคิด
ขยายโอกาสให้เยาวชนในเขตบางพลัดได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทางด้านการแสดงและดนตรี นอกเหนือจากเยาวชนในชุมชนบางยี่ขัน
นักศึกษาได้มีโอกาสใช้ความรู้ทางดนตรีประยุกต์เข้ากับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างบูรณาการผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการในรายวิชา เช่น การเรียบเรียงเสียงประสาน การตีความจากนิทานเป็นบทละคร ฯ
การแสดงสาธารณะ
กิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านการตีความจากนิทานสู่บทละคร/ทักษะการแสดง
การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับงานดนตรีในแต่ละกลุ่ม
การฝึกซ้อม การประชาสัมพันธ์และการแสดง
(ตัวอย่างการแสดง ดู http://www.pgvim.ac.th/digital/program_view.php?id=124)
ผลลัพธ์
จากกิจกรรมในรายวิชาทำให้ส่งเสริมความมั่นใจในการแสดงดนตรีของนักศึกษามากขึ้น และมีความคิดสร้างสรรค์ และการดำเนินงานในครั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงผลการประเมินจากผู้ชมอยู่ในระดับมากโดยวัดเกณฑ์ 5 ระดับมาตราวัดของลิเคิร์ท (Likert scale) ประกอบด้วย
การแสดงละครเยาวชนใน 3 ประเด็น อยู่ในระดับมาก ได้แก่
ความเหมาะสมของระยะเวลาในการจัดแสดง อยู่ที่ระดับ 4.42
ตรงตามความสนใจ อยู่ที่ระดับ 4.42
เพิ่มพูนความรู้/ประสบการณ์ทางด้านดนตรี อยู่ที่ระดับ 4.42
การนำไปใช้ประโยชน์ ใน 3 ประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่
เป็นประสบการณ์ที่นำไปสู่มุมมองใหม่ อยู่ที่ระดับ 4.58
ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ อยู่ที่ระดับ 4.52
ความประสงค์เข้าร่วมกิจกรรมในโอกาสถัดไป อยู่ที่ระดับ 4.74
บทสรุป
กรณีศึกษาดนตรีเพื่อประชาสังคมในประเทศและจากผลลัพธ์ของรายวิชา แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ดนตรีอย่างแยบคายเพื่อประชาสังคม โดยฝึกฝนนักศึกษาดนตรีให้สามารถบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ผ่านการลงมือปฏิบัติ นำไปสู่การสร้างความเข้าอกเข้าใจ (sympathy) รู้จักเขา รู้จักเรามากขึ้น และเมื่อจากนักศึกษาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองจะทำให้ดนตรีมีคุณค่าและสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้
เอกสารอ้างอิง
ศุภพร สุวรรณภักดี. (2554). น้ำมา...เดี๋ยวก็ไป Flood Forward. โครงการดนตรีบำบัดทุกข์อุทกภัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). เบสิค เกียร์.
กรุงเทพฯ
ศุภพร สุวรรณภักดี. (2560). ค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้อง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. ใน ศุภพร สุวรรณภักดี และคณะ, ค่ายอักษร-ศิลป์ เพื่อน้อง: ดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์แบบผู้คนมีส่วนร่วม (หน้า 6-7). กรุงเทพฯ: หยินหยางการพิมพ์.
ศุภพร สุวรรณภักดี และคณะ. (2561). ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 กิจกรรมดนตรีและศิลปะแบบ (คน) มีส่วนร่วม สู่ความเข้าใจ (คน) ในชุมชน. ใน ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา-ธรรมศาสตร์ 3 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (หน้า 29-32). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภพร สุวรรณภักดี และคณะ (2563). แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ปีท่ี 3. In ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา-ธรรมศาสตร์ 3 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (หน้า 34-45). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. (2006). นิทานสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา. (2558). ขบวนการนกกางเขน. From Rossignols En Cage: http://www.pgvim.ac.th/opera/#Rossignois
Suwanpakdee, S., & Poktihitiyuk, Y. (2018). Aksornsilpa: Participation in Music and Arts Camp. Princess Galyani Vadhana International Symposium 201, 39-40.
Week 04-05: Text
bottom of page