top of page
งานกลุ่มภาคสนาม.jpg

Week 10-12: Fieldwork

สัปดาห์ที่ 10

หัวข้อเรื่อง:

งานกลุ่มภาคสนาม 1 - 3

Fieldwork

รายละเอียด:    

การปฏิบัติภาคสนามจากโครงร่างงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 การปฏิบัติที่ใช้กระบวนวิธีทางดนตรีประยุกต์ให้เข้ากับบริบทและความต้องการข้องชุมชน โดยในรายวิชาดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 ปฏิบัติภาคสนามโดยผู้สอนได้ให้ขอบเขตการทำงานโดยการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การจดบันทึกการทำงาน และการประเมินและวัดผลตามลำดับ

Week 10-12: Welcome

ภาคสนาม

ตามหลักกระบวนวิธีของการทำงานมานุษยวิทยาดนตรีประยุกต์ (applied ethnomusicology) คือการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้ได้จริง ผ่านการใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนนั้น ๆ ทำให้ความหมายของการทำงานในเชิงมานุษยวิทยาดนตรีได้ก้าวข้ามความเป็นเพียงชายขอบจากเดิมโดยการขยายความรู้เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมของมนุษย์และวัฒนธรรมที่ค้นคว้า (Todd & Pettan, 2016) นำไปสู่แนวคิดในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคม ควรขยายความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีพัฒนาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางจิตใจ ผู้เรียนควรต้องตระหนักรู้ในประเด็นสำคัญในการลงสนามเพื่อดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม

คำว่า “สนาม” ในทางมานุษยวิทยาดนตรีตามแนวคิดของเจอรัล ไดค์ (Geralde P. Dyck) เป็นการศึกษามีดนตรีปรากฎขึ้นจริงและสามารถเรียนรู้แง่มุมที่เกี่ยวข้องกับดนตรีจากเหตุการณ์ ณ ขณะนั้น และสนามเป็นหัวใจของมานุษยวิทยาดนตรี (ศรัณย์, 2557) ทำให้สนามในทางดนตรีจึงถือว่าเป็นพื้นที่ในการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดและเป็นแหล่งของความรู้ (ณรงค์ชัย, 2555) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเจอรัล ไดค์ ในการเดินทางเก็บข้อมูลดนตรีภาคสนาม (ทรงพล, 2559) เมื่อปัจจุบันโลกไร้พรมแดนยุโรปไม่ได้เป็นศูนย์กลางของดนตรีอีกต่อไปแล้วนั้นทำให้นอกจากกระบวนการมานุษยวิทยาสอนให้เราคิดว่าประวัติศาสตร์มีหลายด้าน เรียนรู้จากปรากฎการณ์ดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับคนผ่านเงื่อนไขใด ๆ ก็ตามทำให้มานุษยวิทยาดนตรีมีอยู่รอบด้านของสังคม งานสนามคือการเรียนรู้สิ่งเป็นที่ประวัติศาสตร์ร่วม วัฒนธรรมที่ซ่อน และความเคลื่อนไหวที่แฝงอยู่ในสิ่งนั้น ๆ (อานันท์, 2562)

ในงานภาคสนามของดนตรีเพื่อประชาสังคมจึงต้องพัฒนาในการนำไปใช้ประโยชน์จากความรู้จากแนวคิดทางมานุษยวิทยาดนตรีนำไปสู่การใช้ประโยชน์ทางดนตรี (utilizing) ในการเป็นเครื่องมือสื่อสารความคิด วัฒนธรรม และการรักษาไว้ในรูปแบบมิติของความร่วมสมัยได้ แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม จึงควรมีความเข้าใจในวัฒนธรรมของพื้นที่ที่ศึกษารวมถึงคนที่เป็นปัจจัยสำคัญหรือกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรม เพราะฉะนั้นแล้วการดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคมจึงหยิบยืมทักษะทางดนตรีหลายรูปแบบดังรูปที่ 24 ประกอบกันในการดำเนินงาน ประกอบด้วย

ทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรม

  การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการนำความรู้ความเข้าใจของผู้ดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม ในการสื่อสารกับกุล่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมด้วย โดยการสื่อสารเหล่านี้คือการทำงานที่มีความเข้าอกเข้าใจผู้คน (sympathy) ซึ่งการเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารควรมีความเหมาะสมกับกับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน เข้าใจง่าย และไม่ยากเกินไปที่จะนำไปสู่ความท้าทายในการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคมในการดำเนินกิจกรรม การสาธิต เพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์จากกิจกรรมตามแต่วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 1  

ทักษะความเป็นนักดนตรี (performing musicianship)

ในการดำเนินกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม ทักษะความเป็นนักดนตรีเป็นสิ่งจำเป็นในการนำไปใช้ เช่น การพัฒนากิจกรรมดนตรีในระหว่างปฏิบัติงานภาคสนาม การเรียบเรียงดนตรีฉับพลัน ทำให้ต้องมีทักษะความเข้าใจที่ลึกซึ้งที่นำไปประยุกต์ใช้ในวิธีการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ

ทักษะจากการศึกษาค้นคว้าและการจัดเก็บข้อมูล (data collection)

การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงการใช้อุปกรณ์ในการเก็บบันทึก เช่น ภาพถ่าย วิดีโอ สื่อที่ใช้ ตามแนวทางของมานุษยวิทยาดนตรี รวมถึงการจดบันทึกที่มีสามารถใช้อภิปรายกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมได้คล้ายคลึงกับระเบียบวิธีวิทยาในเรื่องกรณีศึกษา เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบวันต่อวัน (day-by-day problem solution) โดยใช้หลักของการศึกษาว่า ทำอะไร กระบวนวิธีเป็นแบบไหน ทำไปทำไม แล้วได้ผลอย่างไร มีแนวทางแก้ไขปรับปรุงอย่างไร (Merriam, 1969) เป็นต้น

ทักษะในการวิเคราะห์และประมวลผล

สามารถวิเคราะห์ผลโดยปราศจากอคติ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ดำเนินกิจกรรมโดยสามารถแยกแยะไปแต่ละประเด็นได้อย่างลึกซึ้งทั้งข้อดีหรือสิ่งทีต้องปรับปรุงในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อ ๆ ไปได้ โดยทั่วไปแล้วสามารถวิเคราะห์ผลได้หลายรูปแบบทั้งในเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพตามแต่ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินกิจกรรมโดยพิจารณาถึงปัญหานั้นได้

Week 10-12: Text
จับภาพหน้าจอ 2564-04-21 เวลา 15.35.57.pn
Week 10-12: Image

จากรูปที่ 24 ชี้ให้เห็นว่าการทำงานดนตรีเพื่อประชาสังคมเป็นการประยุกต์นำความรู้ทางดนตรีหลาย ๆ ด้านประกอบกับการดำเนินกิจกรรมทั้งทักษะในการสื่อสารถ่ายทอดอย่างมีความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มชุมชน ทักษะทางดนตรีในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการแสดงดนตรี การประพันธ์ การใช้
คีตปฏิภาณ และการจัดเก็บข้อมูลที่มีจะเป็นหลักฐานในการออกภาคสนาม รวมถึงการคิดวิเคราะห์ที่เป็นระบบในการจัดการปัญหาและผลสรุปจากการดำเนินกิจกรรม

การจัดเก็บข้อมูลงานด้านกิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม 1

การบันทึกภาพถ่ายและวิดีโอ

การถ่ายภาพและการถ่ายวิดีโอเป็นการเก็บรวบรวมขึ้นมูลในเชิงประจักษ์ (explicit evidence) ในการบันทึกเรื่องราวขณะลงปฏิบัติการภาคสนามหรือการนำข้อมูลกลับมาสรุปผล

การจดบันทึกในลักษณะวันต่อวัน

การจดบันทึกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะการทำงานที่เป็นวันต่อวันสามารถใช้อภิปรายผลของการดำเนินงานได้เป็นหลักฐานในการออกภาคสนามซึ่งเป็นผลจากการลงมือทำและจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ดำเนินกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาได้

Week 10-12: Text

บทสรุป

ในงานภาคสนามของงานดนตรีเพื่อประชาสังคม 1 ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในทักษะหลาย ๆ อย่างเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้ด้วยดี ประกอบด้วยทักษะ 4 อย่างที่สำคัญ คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะความเป็นนักดนตรี ทักษะในการจัดเก็บข้อมูล และทักษะในการวิเคราะห์และสรุปผล เพราะฉะนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ ของการดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมายโดยจะทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ผลการดำเนินงานได้ดีทั้งในลักษณะของคุณภาพ

เอกสารอ้างอิง

Todd, J., & Pettan, S. (2016, Feb 16). An Introduction to Applied Ethnomusicology. The Oxford Handbook of Applied Ethnomusicology, DOI: 10.1093/oxfordhb/9780199351701.013.26.

ศรัณย์, น. (2557). ดนตรีชาติพันธ์วิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณรงค์ชัย, ป. (2555). ดุริยางคศาสตร์ชาติพันธ์. ม.ป.ท.

ทรงพล, เ. (2559). มานุษยดนตรีวิทยาภาคสนาม: แนวทางการทำงานของเจอรัลด์ ไดค์ (Gerald P. Dyck) กับการปรับใช้ศึกษาดนตรีในพื้นที่อื่น. ดนตรีล้านนาปิ๊กบ้าน. เชียงใหม่: หอจดหมายเหตุล้านนาเจอรัลด์ ไดค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อานันท์, น. (2562, พฤศจิกายน 14). อานันท์ นาคคง: เรียนมานุษยวิทยาดนตรีผ่านงานวัด งานประเพณี ถกเพลงประเทศกูมีในห้องเรียน. Retrieved 2563, กุมภาพันธ์ from The Potential: https://thepotential.org/creative-learning/arnun-nakkong-interview/

Merriam, A. P. (1969). Field Techniques in Ethnomusicology: The Basongye (Republic of the Congo). JSTOR, 13(2), 213-229. From doi:10.2307/850146

"เครื่องมือ / เกณฑ์การประเมินและวัดผล ท่านสามารถอีเมล์มาสอบถามยังผู้เขียนได้ที่ suppabhorn@pgvim.ac.th"

Week 10-12: Text

Suppabhorn Suwanpakdee

Princess Galyani Vadhana Institute of Music

bottom of page